ฟิล์มยืด VS ฟิล์มหด เลือกอย่างไรให้ตรงกับความต้องการคุณที่สุด
เมื่อพูดถึงการเลือกวัสดุสำหรับบรรจุภัณฑ์ คำถามมักที่ผู้ประกอบการมักจะมาหยุดที่ “ฟิล์มยืด vs ฟิล์มหด ตัวไหนใช้ดีที่สุด” โดยวัสดุทั้งสองชนิดต่างมีคุณสมบัติและคุณประโยชน์ที่ต่างกัน ในการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับความต้องการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นในด้านการขนส่งหรือปกป้องสินค้า เราจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจถึงตวามแตกต่างและวัตถุประสงค์การใช้งานของวัสดุทั้งสองก่อน
ในบทความนี้ Flexipack ขอพาคุณไปทำความเข้าใจในความแตกต่างของ ฟิล์มยืด vs ฟิล์มหด ทั้งในด้านข้อดี ข้อจำกัด และลักษณะการใช้งานที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้คุณได้ตัดสินใจเลือกโซลูชันบรรจุภัณฑ์ที่ตรงความต้องการของคุณมากขึ้น
ฟิล์มยืด คืออะไร?
ฟิล์มยืด (Stretch Film) เป็นฟิล์มพันสิ่งของ เพื่อแพ็กสินค้ารวมกัน และช่วยปกป้องสินค้าให้ตั้งบนพาเลทอย่างมั่นคง ลักษณะการทำงานของฟิล์มยืดคือ การใช้พันรอบสินค้าบนพาเลทเพื่อความปลอดภัยระหว่างการขนส่งและการจัดเก็บ ฟิล์มยืดนั้นมีหลายขนาดและหลายเกรดให้เลือก เช่น เกรดสำหรับใช้พันพาเลทด้วยมือ และ เกรดสำหรับใช้กับเครื่องพัน เป็นต้น
ประเภทของฟิล์มยืด
- ฟิล์มยืดแบบฉีด (Cast Stretch Film)
- ฟิล์มยืดแบบเป่า (Blown Stretch Film)
- ฟิล์มยืด Pre-Stretch
- Performance Stretch Film
ฟิล์มหด คืออะไร?
ฟิล์มหด (Shrink Film) คือ ฟิล์มพลาสติกชนิดหนึ่ง ที่จะหดตัวลงเมื่อเจอกับความร้อน มักจะถูกใช้ในการแพ็กรวมสินค้าขนาดเล็กเข้าไว้ด้วยกัน และมักนิยมใช้ในบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร โดยการใช้งาน จะเริ่มจากการใช้ฟิล์มหดห่อสินค้าไว้แบบหลวมๆ ก่อนจะใช้ความร้อนเพื่อทำให้ฟิล์มหดตัวลงและรัดสินค้า
ประเภทของฟิล์มหด
- PVC (Polyvinyl Chloride)
- POF (Polyolefin)
- PE (Polyethylene)
เหตุผลที่คนมักสับสนระหว่างฟิล์มยืด vs ฟิล์มหด
ทั้งฟิล์มยืดและฟิล์มหด สามารถใช้ในการพันสิ่งของหรือแพ็กสินค้าได้เหมือนกัน ลักษณะการใช้งานที่คล้ายกันนี้จึงมักทำให้เกิดการสับสนในการเลือกใช้ฟิล์มทั้ง 2 ประเภทนี้
1. ฟังก์ชันการใช้งานที่คล้ายกัน: ทั้งฟิล์มยืดและฟิล์มหดต่างก็ทำหน้าที่ปกป้องสินค้าและใช้เพื่อแพ็กสินค้ารวมกัน จึงทำให้หลายคนเกิดความเข้าใจว่า สามารถใช้แทนกันได้
2. รูปลักษณ์ที่คล้ายกัน: ฟิล์มทั้ง 2 ชนิดเป็นฟิล์มพลาสติกเหมือนกัน จึงทำให้เกิดความเข้าใจว่าเป็นฟิล์มชนิดเดียวกัน
3. การใช้งานทั่วไปในด้านบรรจุภัณฑ์: ทั้งฟิล์มยืดและฟิล์มหด เป็นองค์ประกอบสำคัญในกระบวนการบรรจุภัณฑ์ จึงมักทำให้เกิดความสับสน
ฟิล์มยืด vs ฟิล์มหด ที่จริงแล้วแตกต่างกันอย่างไร?
ฟิล์มยืดและฟิล์มหดมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่แท้จริงแล้วมีความแตกต่างกันที่ชัดเจนในแง่ของคุณสมบัติและรูปแบบการใช้งาน ดังนี้:
วิธีใช้งาน
- ฟิล์มยืด: ฟิล์มยืดจะใช้ในการพันเพื่อยึดสินค้าให้มั่นคง โดยตัวฟิล์มจะถูกยืดเพื่อพันรอบ ๆ กลุ่มสินค้าอย่างแน่นหนา โดยไม่จำเป็นต้องใช้ความร้อน
- ฟิล์มหด: ฟิล์มหดจะถูกห่อหรือพันรอบ ๆ สินค้าไว้อย่างหลวม ๆ ก่อนที่จะถูกนำไปผ่านความร้อน ที่จะทำให้ฟิล์มหดตัวลงและรัดสินค้าให้แน่นหนาขึ้น
วัตถุประสงค์ในการใช้งาน
- ฟิล์มยืด: มักจะใช้ในการพันสินค้าบทพาเลทเพื่อยึดสินค้าให้ความมั่นคง ทำให้สะดวกต่อการขนส่ง การจัดเก็บ และ ยังช่วยปกป้องสินค้าจากฝุ่นและความชื้น
- ฟิล์มหด: ใช้ในการปกป้องสินค้าแบบแยกชิ้น หรือแพ็กสินค้าขนาดเล็กไว้ด้วยกัน มักจะใช้ในบรรจุภัณฑ์สำหรับธุรกิจค้าปลีกหรืออาหาร
ประเภทของฟิล์ม
- ฟิล์มยืด: Cast Stretch Wrap, Blown Stretch Film, Pre-Stretch Film, Performance Stretch Film
- ฟิล์มหด: PVC, POF, PE
เครื่องมือ
- ฟิล์มยืด: ใช้การพันห่อด้วยมือ หรือใช้เครื่องพันพาเลท
- ฟิล์มหด: ใช้ความร้อนในการห่อ เช่น ปืนเป่าลมร้อนหรือเครื่องอบฟิล์มหด
เปรียบเทียบความแตกต่าง ฟิล์มยืด vs ฟิล์มหด
ด้านต่างๆ | ฟิล์มยืด | ฟิล์มหด |
การใช้งาน | ปกป้องพาเลท, แพ็กรวมสินค้า | แพ็กรวมสินค้าขนาดเล็ก, บรรจุภัณฑ์อาหาร, |
ลักษณะการทำงาน | ฟิล์มถูกยืดเพื่อพันรอบสินค้าให้แน่นหนา | ห่อสินค้าแบบหลวม ๆ ก่อนใช้ความร้อนทำให้ฟิล์หดตัวรัดสินค้า |
ประเภท | Cast, Blown, Pre-Stretch, Performance | PVC, POF, PE |
รูปแบบการใช้งานหลัก | เพิ่มความมั่นคงของพาเลทสินค้าระหว่างการขนส่งและจัดเก็บ | แพ็กรวมและปกป้องสินค้าขนาดเล็ก |
ต้นทุน | มีความคุ้มค่าด้านต้นทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับฟิล์ม Pre-Stretch | ขึ้นอยู่กับประเภทที่ใช้ เช่น ฟิล์มหด PVC จะราคาถูกว่า POF และ PE |
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม | ฟิล์มยืดบางประเภท เช่น ฟิล์มยืดแบบ Performance มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม | ฟิล์มหด PE สามารถรีไซเคิลได้ แต่กลับกัน ฟิล์มหด PVC และ POF อาจจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า |
ความโปร่งใสของวัสดุ | มีความแตกต่างตามประเภท (เช่น แบบ Cast-Stretch จะใสกว่าแบบ Blown-stretch) | ฟิล์มหด POF มีความโปร่งใสสูง ส่วน PE มีความโปร่งใสที่น้อยกว่า |
ความแข็งแรง | ความสามารถในการรับน้ำหนักสูง (Blown-stretch, Performance) | แตกต่างกันไปตามประเภท (PE มีความหนาและเหนียว ส่วน PVC และ POF จะทนทานได้น้อยกว่า) |
ความสะดวกในการใช้งาน | ฟิล์มยืดแบบ Pre-Stretch และ Performance สามารถใช้งานได้ง่าย | ต้องใช้ความร้อน ซึ่งอาจทำให้เกิดความซับซ้อนของขั้นตอน |
จากตารางเปรียบเทียบนี้ จะช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจเลือกใช้ฟิล์มยืด หรือ ฟิล์มหด ได้อย่างตรงความต้องการใช้งานในส่วนต่างๆ ของธุรกิจคุณ
แล้วฟิล์มประเภทไหนที่ตรงกับความต้องการ?
การจะเลือกใช้ฟิล์มยืดหรือฟิล์มหด ขึ้นอยู่กับความต้องการด้านบรรจุภัณฑ์และลักษณะของสินค้า ก่อนจะตัดสินใจเลือกประเภทฟิล์ม เรามาดูกันว่า สถานการณ์ หรือความต้องการแบบไหน ถึงจะต้องเลือกใช้ฟิล์มยืด และแบบไหนถึงจะเลือกใช้ฟิล์มหด
งานที่ควรใช้ฟิล์มยืด
การขนส่งและการจัดเก็บ
- ต้องการเพิ่มความมั่นคงให้พาเลทสินค้า: ฟิล์มยืดเหมาะกับพันของชิ้นใหญ่ หรือ พาเลทสินค้า เพื่อยึดสินค้าไว้ด้วยกันให้แน่นและมั่นคง ป้องกันสินค้าไม่ให้หล่นจากพาเลท
- ต้องการปกป้องสินค้า: ฟิล์มยืดจะช่วยปกป้องสินค้าจากฝุ่น สิ่งสกปรกและความชื้นได้เป็นอย่างดี เหมาะกับการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย เช่น โกดังสินค้า ตู้คอนเทนเนอร์ เป็นต้น
- ต้องการความหลากหลายในการใช้งาน: ฟิล์มยืดสามารถใช้กับสินค้าได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่มีรูปร่างปกติ หรือรูปร่างพิเศษ
การบรรจุสินค้าปริมาณมาก
- ต้องการประสิทธิภาพการทำงาน: ฟิล์มยืดเกรดสำหรับใช้กับเครื่องจักร เหมาะกับงานที่มีสินค้าปริมาณมาก และต้องการความรวดเร็ว สามารถช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
- ต้องการประหยัดต้นทุน: ฟิล์มยืดแบบ Pre-stretch ช่วยลดต้นทุนในการใช้วัสดุลงได้ เนื่องจากเป็นการยืดฟิล์มให้บางลงก่อนพัน จึงทำให้ใช้ปริมาณฟิล์มต่อการพันน้อยลง
งานที่ควรใช้ฟิล์มหด
การใช้งานในสินค้าชิ้นเล็ก
- ต้องการแพ็กสินค้า: เช่น ขวดน้ำ กระป๋อง หรือสินค้าปลีกอื่นๆ ฟิล์มหดสามารถช่วยแพ็กรวมสินค้าขนาดเล็กเหล่านี้ให้แน่นหนาและป้องกันการงัดแงะได้
- ต้องการบรรจุภัณฑ์สินค้าปลีก: การใช้ฟิล์มหดเป็นบรรจุภัณฑ์ มีข้อดีที่ฟิล์มจะแนบสนิทกับรูปร่างของสินค้า ทำให้สามารถจัดวางในชั้นวางได้อย่างเป็นระเบียบและดูสวยงาม
การปกป้องสินค้า
- บรรจุภัณฑ์อาหาร: ฟิล์มหด POF ที่ได้รับการรับรองจาก FDA มักถูกใช้ในการปกป้องสินค้าประเภทอาหาร เช่น ชีส เนื้อสัตว์ และเบเกอรี่ โดยฟิล์มสามารถสัมผัสอาหารโดยตรงได้ และมีความโปร่งใส สามารถเห็นสินค้าด้านในได้ชัดเจน
- ป้องกันการงัดแงะ: การใช้ฟิล์มหดจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบความปลอดภัยของสินค้า เพราะสามารถเห็นร่องรอยได้ชัดเจน หากสินค้ามีการถูกงัดแงะ โดยเฉพาะสินค้าที่มีความเปราะบางสูง เช่น ยาและเครื่องใช้ไฟฟ้า
Flexipack ผู้ช่วยให้คำปรึกษาในการตัดสินใจเลือกใช้บรรจุภัณฑ์
การเลือกระหว่างฟิล์มยืด กับ ฟิล์มหด ก็สามารถส่งผลต่อประสิทธิภาพของการปกป้องสินค้าคุณได้ โดยที่ Flexipack เราเข้าใจถึงความต้องการที่แตกต่างกันออกไปในทุกธุรกิจ เราจึงพร้อมให้คำปรึกษาและความช่วยเหลือในด้านบรรจุภัณฑ์กับคุณตลอดทุกขั้นตอน
ติดต่อเราเพื่อรับคำปรึกษาและคำแนะนำได้ฟรี และให้เราช่วยคุณเลือกโซลูชันบรรจุภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจของคุณ