Skip links

เครื่องพันพาเลท: ประเภท การใช้งาน และสิ่งที่ต้องรู้ก่อนเลือกใช้

เครื่องพันพาเลท หรือ เครื่องพันฟิล์มยืด คือ เครื่องมือที่จำเป็นอย่างยิ่งในกระบวนการยึดสินค้าบนพาเลทให้มั่นคง และปลอดภัย ไม่เคลื่อนไหวหรือเลื่อนหล่นในระหว่างการขนส่งหรือจัดเก็บ

แต่ประโยชน์ของเครื่องพันพาเลทยังมีอีกมากมาย รวมถึงยังมีหลากหลายประเภทที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันไปตามการใช้งาน ก่อนที่คุณจะตัดสินใจเลือกใช้เครื่องพันฟิล์มพาเลท Flexipack ขอพาคุณไปเจาะลึกข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือสำคัญอันนี้กันก่อน

เครื่องพันพาเลท คืออะไร?

เครื่องพันพาเลท หรือที่รู้จักกันในชื่อ เครื่องพันฟิล์มยืด คือ อุปกรณ์เฉพาะทาง ที่ออกแบบมาเพิ่มความมั่นคงในการขนย้ายสินค้าบนพาเลท โดยเครื่องจะพันสินค้าฟิล์มยืด (Stretch film) อย่างแน่นหนาเพื่อยึดยึดสินค้าไม่ให้ตกหล่น และปกป้องสินค้า

กระบวนการตรงนี้ถือ เป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างมาก เพราะเป็นการปกป้องสินค้าในระหว่างการขนส่งและการจัดเก็บจากความเสียหาย ฝุ่น ความชื้น และการงัดแงะ ทำให้สินค้าคงอยู่ในสภาพสมบูรณ์เสมอ

ประเภทของเครื่องพันพาเลท 

เครื่องพันพาเลทอัตโนมัติ

เครื่องพันพาเลทอัตโนมัติ ถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งานเมื่อมีสินค้าปริมาณมาก โดยข้อดีของเครื่องพันพาเลทอัตโนมัติ ได้แก่:

  • ต้นทุนแรงงานต่ำ: เพราะเป็นระบบอัตโนมัติ จึงลดความต้องการใช้แรงงานคน
  • อัตราสิ้นเปลืองฟิล์มน้อยลง: รองรับฟังก์ชัน Pre-stretching ทำให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ปลอดภัยกว่า: เครื่องพันพาเลทอัตโนมัติรุ่นใหม่จะมีฟีเจอร์ในด้านความปลอดภัย เพื่อป้องกันความผิดพลาดระหว่างปฏิบัติงาน

เครื่องพันพาเลทกึ่งอัตโนมัติ

เป็นการผสมผสานระหว่างการพันแบบอัตโนมัติและการพันแบบ Manual เหมาะกับงานที่มีปริมาณสินค้ามากระดับปานกลาง

  • ใช้แรงงานคนในการจัดวางและยกสินค้าออกจากพาเลท: ผู้ปฏิบัติงานจะต้องจัดวางตำแหน่งพาเลท ใส่ฟิล์มเพื่อเตรียมกระบวนการห่อ และเริ่มพันแบบ Manual ก่อนใช้เครื่องในการพัน 
  • ห่อพันฟิล์มแบบอัตโนมัติ: เครื่องพันพาเลททำงานโดยอัตโนมัติ แต่ก็ยังคงต้องมีการช่วยเหลือและตรวจสอบโดยผู้ปฏิบัติงานอยู่

เปรียบเทียบระหว่าง เครื่องพันพาเลทอัตโนมัติ vs เครื่องพันพาเลทกึ่งอัตโนมัติ

ลักษณะ/ฟีเจอร์การใช้งาน

เครื่องพันพาเลทอัตโนมัติ 

เครื่องพันพาเลทกึ่งอัตโนมัติ

การทำงานอัตโนมัติแบบเต็มรูปแบบ ใช้แรงงานคนงานน้อยที่สุดอัตโนมัติบางส่วน ต้องมีการดำเนินการบางขั้นตอนด้วยผู้ปฏิบัติงาน
ความต้องการใช้แรงงานคนลดการใช้แรงงานคนได้อย่างมากต้องการแรงงานคนในการจัดเรียงพาเลท, เริ่มพัน และขนย้ายพาเลทออกหลังเสร็จสิ้น
ประสิทธิภาพและความรวดเร็วพันสินค้าบนพาเลทได้อย่างรวดเร็ว ทำงานด้วยความเร็วสูงความเร็วปานกลาง เร็วกว่าการพันห่อด้วยมือ แต่ช้ากว่าแบบอัตโนมัติ
ความสม่ำเสมอมีความสม่ำเสมอในการพันพาเลททุกครั้งมีความสม่ำเสมอในการพันพาเลทมากกว่าการพันด้วยมือทั้งหมด
ความปลอดภัยมีฟีเจอร์ด้านความปลอดภัย ผู้ปฏิบัติงานไม่จำเป็นต้องลงจากรถยก เพื่อพันพาเลทด้วยตัวเองปลอดภัยกว่าการพันพาเลทด้วยมือ แต่บางขั้นตอนยังคงต้องอาศัยแรงงานคน
ค่าใช้จ่ายค่าใช้จ่ายสูงในการลงทุนเริ่มต้นการลงทุนเริ่มต้นต่ำกว่าเครื่องพันพาเลทแบบอัตโนมัติ
การใช้ฟิล์มเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานฟิล์มด้วยฟังก์ชัน Pre-Stretchingใช้ปริมาณฟิล์มมากกว่า
การซ่อมบำรุงระบบมีความซับซ้อน ต้องการการบำรุงรักษาเป็นประจำบำรุงรักษาได้ง่ายกว่า เนื่องจากมีกลไกลที่ซับซ้อนน้อยกว่า
การใช้งานที่เหมาะสมเหมาะสำหรับการใช้งานที่มีสินค้าปริมาณมาก และต้องมีการพันพาเลทบ่อยครั้งเหมาะสำหรับการใช้งานที่มีสินค้าปริมาณปานกลาง และต้องมีการพันพาเลทเป็นครั้งคราว
ความยืดหยุ่นในการใช้งานเหมาะอย่างยิ่งกับงานที่มีมาตรฐานต้องทำซ้ำเรื่อยๆ แต่ไม่ค่อยยืดหยุ่นในด้านการกำหนดความต้องการใช้งานที่หลากหลายความยืดหยุ่นในการใช้งานมากกว่า เหมาะกับการพันพาเลทรูปแบบหลากหลาย หรือการพันห่อที่มีข้อกำหนดแตกต่างกันไปในแต่ละรอบปฏิบัติงาน
ด้านผลผลิต/ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถโฟกัสไปที่กระบวนการอื่นได้เต็มที่ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ดี แต่ก็ยังคงต้องอาศัยการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในบางขั้นตอน 
ความต้องการด้านพื้นที่ ต้องการพื้นที่เฉพาะสำหรับติดตั้งเครื่องและใช้งานมีความกะทัดรัด ใช้พื้นที่น้อยกว่า

เครื่องพันพาเลท ทำงานอย่างไร?

Step 1: ขนย้ายและจัดเรียงพาเลท

พาเลทสินค้าถูกจัดวางหรือโหลดลงบนเครื่องพันพาเลท ซึ่งอาจจะต้องอาศัยแรงคน หรืออาจจะเป็นโหลดอัตโนมัติ ขึ้นอยู่กับประเภทของเครื่องพันฟิล์มพาเลทที่ใช้ 

Step 2: การติดฟิล์ม

เริ่มพันพาเลทสินค้าด้วยฟิล์มยืด โดยปกติจะอยู่เริ่มที่บริเวณฐานพาเลท ซึ่งอาจจะต้องใช้เริ่มพันฟิล์มแบบใช้มือหรือเริ่มด้วยเครื่องได้เลย ขึ้นอยู่กับประเภทของเครื่องพันพาเลทที่ใช้

Step 3: กระบวนการพันห่อพาเลท:

เครื่องพันพาเลทจะทำการพันห่อฟิล์มรอบๆ พาเลท ซึ่งมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับรูปแบการทำงานของเครื่องพันพาเลท ดังนี้:

  • เครื่องพันพาเลทแบบหมุน: พาเลทถูกวางอยู่บนแท่นหมุน โดยแท่นจะทำการหมุนไปเรื่อยๆ เพื่อให้ฟิล์มพันพาเลทรอบด้าน
  • เครื่องพันพาเลทแบบมีแขนกล: แขนกลจะทำการหมุนไปรอบๆ แทน เพื่อทำการพันฟิล์มรอบๆ พาเลท โดยพาเลทจะอยู่กับที่
  • เครื่องพันพาเลทแบบวงแหวน: พาเลทจะอยู่นิ่งกับที่ ในขณะที่จะมีวงแหวนคอยหมุนพันฟิล์มรอบๆ พาเลทในแนวตั้ง 

Step 4: การตัดและเก็บฟิล์ม

หากใช้เครื่องพันพาเลทแบบอัตโนมัติ เครื่องจะถูกตัดและยึดฟิล์มให้แน่นหลังขั้นตอนการพันเสร็จสิ้นแล้ว แต่ในเครื่องพันพาเลทแบบกึ่งอัตโนมัติ หรือ การพันพาเลทแบบใช้มือ ผู้ปฏิบัติงานต้องดำเนินการขั้นตอนนี้ด้วยตัวเอง 

Step 5: การขนย้ายพาเลทออกจากเครื่อง

พาเลทที่ถูกห่อด้วยฟิล์มเรียบร้อยแล้วจะถูกขนย้ายออกจากเครื่อง เพื่อจัดเก็บหรือขนส่งต่อไป 

ทำไมคุณจึงต้องใช้เครื่องพันพาเลท?

เครื่องพันพาเลท มีบทบาทในด้านบรรจุภัณฑ์และโลจิสติกส์อย่างมากในยุคปัจจุบัน ซึ่งเหตุผลที่ทำให้เครื่องพันพาเลทมีความสำคัญต่อธุรกิจต่างๆ มีดังนี้:

ป้องกันความเสียหาย

  • ปกป้องความเสียหายจากปัจจัยแวดล้อม: เครื่องพันพาเลทห่อหุ้มสินค้าบนพาเลทด้วยฟิล์มอย่างแน่นหนา ซึ่งทำหน้าที่เป็นเหมือนเกราะป้องกันสินค้าจากปัจจัยแวดล้อม เช่น ฝุ่น สิ่งสกปรก และความชื้น โดยการพันพาเลทจะช่วยรักษาคุณภาพและความสมบูรณ์ของสินค้า โดยเฉพาะเมื่อต้องมีการจัดเก็บหรือการขนส่งเป็นเวลานาน
  • ป้องกันความเสียหายทางกายภาพ: ฟิล์มยืดที่พันห่อพาเลทสินค้าอยู่ จะเป็นตัวช่วยอีกชั้น ที่ป้องกันสินค้าจากความเสียหาย อย่าง รอยขีดข่วน รอยบุบ และการแตกหัก ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะกับสินค้าที่มีความเปราะบางสูง
  • ป้องกันการงัดแงะ: การห่อพาเลทอย่างแน่นหนา ทำให้คุณเห็นได้ทันทีว่า บรรจุภัณฑ์มีการถูกงัดแงะหรือไม่ ช่วยให้ตรวจสอบความเสียหายได้ง่าย และเพิ่มความปลอดภัยในระหว่างการขนส่งและจัดเก็บ

เพิ่มความปลอดภัย

  • ความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน: เครื่องพันพาเลทอัตโนมัติช่วยลดความจำเป็นในการใช้แรงงานคน รวมถึงลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ เช่น การสะดุดหกล้ม ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ หากต้องพันฟิล์มรอบพาเลทด้วยตัวเอง
  • ลดการบาดเจ็บ เหนื่อยล้าจากการทำงาน: การพันห่อพาเลทต้องมีกระบวนการที่พันรอบซ้ำๆ จนแน่นหนา การใช้เครื่องพันพาเลทอัตโนมัติทำให้ลดความเสี่ยงที่ผู้ปฏิบัติงานจะบาดเจ็บ หรือเหนื่อยล้าจากการเคลื่อนไหวแบบเดิมซ้ำๆ ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยให้สภาพแวดล้อมการทำงานปลอดภัยยิ่งขึ้น

รูปแบบการพันที่คงที่

  • ความสม่ำเสมอ: เครื่องพันพาเลทแบบอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติ ทำให้มั่นใจได้ว่า พาเลทแต่ละพาเลทจะถูกพันอย่างแน่นหนา สม่ำเสมอกัน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการรักษาคุณภาพการผลิตและมาตรฐานความมั่นคงของพาเลทในระหว่างการขนส่ง
  • ประสิทธิภาพ: รูปแบบการพันที่สม่ำเสมอ จะช่วยลดโอกาสที่สินค้าบนพาเลทจะเคลื่อนที่หรือเลื่อนไหลจนเกิดความเสียหายระหว่างการขนส่ง นอกจากนี้ ยังช่วยให้พาเลทสินค้าดูเป็นระเบียบและจัดการได้ง่ายขึ้น

ช่วยลดต้นทุน

  • ทำงานแบบอัตโนมัติ ลดต้นทุนแรงงาน: ธุรกิจต่างๆ ที่ใช้เครื่องพันพาเลท สามารถลดปริมาณแรงงานคนที่ต้องใช้ลงได้อย่างมาก โดยไม่ใช่แค่ลดต้นทุนด้านแรงงาน แต่ยังช่วยให้พนักงานมีเวลาไปโฟกัสกระบวนการหน้าที่อื่นๆ ที่สำคัญกว่าได้ 
  • ประหยัดเวลา: เครื่องพันพาเลททำงานได้รวดเร็วกว่าการพันด้วยมือ ส่งผลให้สามารถห่อพาเลทจำนวนมากได้ในเวลาที่น้อยลง ส่งผลให้ประสิทธิภาพและผลผลิตโดยรวมดีขึ้น
  • ประหยัดวัสดุ: เครื่องพันพาเลทรุ่นใหม่ๆ มีฟังก์ชันที่ช่วยประหยัดฟิล์มได้ดีขึ้น เช่น Pre-stretching ที่ช่วยยืดฟิล์มให้ยาวและบาง ลดปริมาณฟิล์มที่ใช้ต่อพาเลทลงได้

เพิ่มความปลอดภัยในการจัดเรียงพาเลท

  • ควบคุมการจัดวางได้ดีขึ้น: การห่อพาเลทที่ดีจะช่วยให้มีความปลอดภัยมากขึ้นในขั้นตอนการขนส่งและจัดเก็บ ลดความเสี่ยงในการเสียหาย โดยเฉพาะเมื่อสินค้ามีน้ำหนักมากหรือรูปร่างไม่สม่ำเสมอ
  • ลดโอกาสการเสียสินค้า: พาเลทที่ถูกห่ออย่างแน่นหนา จะลดโอกาสที่สินค้าสูญหายหรือเสียหายลงได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผลกำไรของธุรกิจอย่างมาก 

เครื่องพันพาเลทจึงถือเป็นอุปกรณ์จำเป็นสำหรับธุรกิจต่าง ๆ และนับว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าเพื่อการบรรจุ การขนส่ง และการจัดเก็บสินค้าที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยยิ่งขึ้น 

คุณสมบัติของเครื่องพันพาเลทที่ดี

ในการเลือกเครื่องพันพาเลท คุณจำเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติดังต่อไปนี้:

  • ระบบควบคุมความตึงของฟิล์ม: เพื่อให้สามารถปรับแต่งความตึงของฟิล์มได้อย่างเหมาะสม
  • ฟังก์ชัน Pre-Stretching: เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดปริมาณการใช้ฟิล์มลงต่อพาเลท
  • ฟีเจอร์เพื่อความปลอดภัย: ประกอบไปด้วยเซนเซอร์, โฟโตเซลล์ (Photocells) และระบบอินเตอร์ล็อก เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน
  • ความสะดวกด้านการใช้งาน: ระบบควบคุมและ Interface ที่ใช้ง่าย
  • ความทนทาน: ออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานที่หนักหน่วงในภาคอุตสาหกรรม
  • ความรวดเร็วในการทำงาน: รองรับการทำงานที่มีสินค้าปริมาณมาก และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
  • ความอเนกประสงค์: สามารถทำงานได้กับขนาดและรูปร่างพาเลทที่มีความหลากหลาย
  • ประหยัดพลังงาน: ลดต้นทุนการดำเนินงาน รวมถึงส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม

ต้องการเครื่องพันพาเลท ปรึกษา FLexipack เลย

การเลือกเครื่องพันพาเลทให้ตรงกับความต้องการของคุณอาจเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจในหลากหลายปัจจัย เนื่องจากมีตัวเลือกให้เลือกที่หลากหลาย รวมทั้งยังมีข้อกำหนดเฉพาะของแต่ละอุตสาหกรรมอีกด้วย

ที่ Flexipack เราเข้าใจถึงความสำคัญในการเลือกเครื่องพันพาเลทให้เหมาะสมกับธุรกิจต่างๆ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดียิ่งขึ้น คุ้มค่าสูงสุด และปลอดภัยเป็นสำคัญ ทีมผู้เชี่ยวชาญของเราจึงพร้อมให้คำปรึกษาช่วยเหลือคุณในการตัดสินใจเลือกเครื่องพันพาเลทที่ดีที่สุด และตรงกับความต้องการของคุณที่สุด 

ติดต่อเราวันนี้ เพื่อรับคำปรึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย