คำแนะนำในการเลือก แผ่นฉนวนกันความร้อน (Insulation Foam Sheet)
แผ่นฉนวนกันความร้อน เป็นองค์ประกอบของการก่อสร้างสมัยใหม่ที่มีบทบาทในเรื่องการประหยัดพลังงานและช่วยให้บรรยากาศภายในอาคารอยู่สบายยิ่งขึ้น ด้วยวัสดุที่มีความสามารถเป็นฉนวนกันความร้อน ซึ่งสามารถลดอัตราการถ่ายเทความร้อนระหว่างภายนอกและภายในอาคารได้ ซึ่งนอกจากจะช่วยคงความอบอุ่นให้อาคารในฤดูหนาว และคงความเย็นสบายในฤดูร้อนแล้ว แผ่นฉนวนกันความร้อนยังจะเป็นตัวช่วยประหยัดค่าไฟที่ดีได้อีกด้วย
ในบทความนี้ Flexipack จะพาคุณได้รู้จักกับ แผ่นฉนวนกันความร้อน (Insulation foam sheet) ทั้งคุณสมบัติ ข้อดี และความโดดเด่นของฉนวนแต่ละประเภท รวมไปถึงหลักการง่าย ๆ ในการเลือกใช้แผ่นฉนวนกันความร้อนให้สอดคล้องกับความต้องการของคุณ
ฉนวนกันความร้อน คืออะไร?
ฉนวน (Insulation) คือ วัสดุที่มีความสามารถในการป้องกันการถ่ายเทของความร้อนและป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกอาคาร ฉนวนกันความร้อนช่วยทำให้บ้านมีบรรยากาศที่เย็นสบายด้วยการลดการถ่ายเทของความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ภายในผ่านเพดานและผนัง โดยวัสดุที่เป็นฉนวนในการก่อสร้างมีให้เลือกหลายรูปแบบ อาทิ เช่น พียู ไฟเบอร์กลาส ฉนวนใยหิน และโฟม
คุณสมบัติการความเป็นฉนวนของวัสดุเหล่านี้ ช่วยให้ภายในบ้านมีสภาพแวดล้อมที่อยู่สบาย ไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป และยังช่วยลดการใช้แอร์หรือฮีตเตอร์ได้อีกด้วย
ประโยชน์ของแผ่นฉนวนกันความร้อน
แผ่นฉนวนกันความร้อนสามารถติดตั้งได้ทั้งภายในอาคารที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์ โดยประโยชน์ของการใช้แผ่นฉนวนกันความร้อน มีดังนี้
1. ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
แผ่นฉนวนกันความร้อน ช่วยลดการถ่ายเทความร้อนระหว่างภายนอกและภายในอาคารได้อย่างดี ซึ่งจะช่วยรักษาอุณหภูมิภายในอาคารให้คงที่และลดการใช้แอร์หรือฮีตเตอร์ได้
แผ่นฉนวนกันความร้อนจึงทำให้บ้านหรืออาคารใช้พลังงานน้อยลง ซึ่งนอกจากจะช่วยประหยัดค่าไฟได้แล้ว ยังจะเป็นวิธีที่ช่วยรักษ์โลกอีกด้วย
2. ความอบอุ่น
แผ่นฉนวนกันความร้อน ป้องกันไม่ให้ห้องภายในอาคารถ่ายเทความร้อนออกสู่ภายนอกในช่วงฤดูหนาว และช่วยลดการถ่ายเทความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ภายในอาคารในช่วงฤดูร้อน ซึ่งทำให้บรรยากาศในอาคารมีความสบายตลอดทั้งปี แผ่นฉนวนกันความร้อนจึงเหมาะมาก ๆ สำหรับบ้านและอาคารในพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศรุนแรงและบ่อยครั้ง
3. การป้องกันเสียง
แผ่นฉนวนกันความร้อนสามารถช่วยป้องกันมลภาวะทางเสียงจากภายนอกได้ เช่น เสียงจากการจราจร เสียงจากงานก่อสร้าง หรือ เสียงรบกวนอื่น ๆ ความสามารถในการป้องกันเสียงจะช่วยสร้างบรรยากาศภายในอาคารที่สงบ ซึ่งถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับอาคารในพื้นที่อยู่อาศัยแออัดและมีการจราจรสูง
4. การป้องกันความชื้น
วัสดุที่เป็นฉนวนกันความร้อนบางชนิด อย่าง โฟมพีอี และโฟมพียู มีความสามารถในการกันน้ำและความชื้น ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการเกิดเชื้อราหรือราน้ำค้างที่มักสร้างความเสียหายให้กับโครงสร้างอาคาร และยังส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย แผ่นฉนวนกันความร้อนจึงเหมาะกับอาคารในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง หรือ อาคารที่มักมีปัญหาน้ำรั่วซึม
5. ความทนทาน
แผ่นฉนวนกันความร้อนมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน โดยวัสดุอย่าง โฟมพียู และ โฟมอีพีเอสนั้นมีความทนทานสูง ทำให้ไม่ต้องการการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนบ่อยครั้ง ซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาวได้
6. ความสามารถในการกันไฟ
วัสดุฉนวนกันความร้อนบางชนิด เช่น ฉนวนใยหิน มีความคุณสมบัติในการกันไฟ ซึ่งจะช่วยหยุดการลุกลามของเปลวเพลิงได้เมื่อเกิดเหตุอัคคีภัย ซึ่งเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้อยู่อาศัยทั้งในอาคารบ้านเรือนและอาคารพาณิชย์ไปอีกระดับ
7. น้ำหนักที่เบา
แผ่นฉนวนกันความร้อนหลายชนิด เช่น โฟมอีพีเอส มีน้ำหนักที่เบา ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายและติดตั้งได้ง่าย น้ำหนักที่เบาจะช่วยลดความซับซ้อนในการติดตั้งและยังไม่กดทับโครงสร้างในอาคาร ทำให้ไม่จำเป็นต้องกังวลถึงเรื่องน้ำหนักหากต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างอาคาร หรือหากโครงสร้างอาคารสามารถรับน้ำหนักได้อย่างจำกัด
8. เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
การใช้แผ่นกันฉนวนจะช่วยลดคาร์บอนฟุตปริ้นท์ (Carbon footprint) ด้วยการลดการใช้พลังงานภายในอาคาร นอกจากนี้ วัสดุอย่าง อีพีอี และ พียูบางประเภท ยังสามารถถูกนำไปรีไซเคิลได้ ซึ่งสอดคล้องกับวิถีการรักษาความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม แผ่นฉนวนกันความร้อนจึงเป็นทางเลือกง่าย ๆ ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่เจ้าของอาคารหรือผู้รับเหมาก่อสร้างสามารถทำได้
9. ราคาประหยัด
จริงอยู่ที่ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งแผ่นฉนวนกันความร้อนอาจมีราคาสูง แต่ในระยะยาวแล้ว แผ่นฉนวนกันความร้อนจะสามารถช่วยการใช้ไฟฟ้าและค่าซ่อมบำรุงได้ ทำให้มันกลายเป็นตัวเลือกที่ประหยัดและคุ้มราคา นอกจากนี้ ความทนทานของตัวฉนวนยังจะช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับตัวบ้านหรืออาคารได้อีกด้วย
10. การใช้งานที่หลากหลาย
ฉนวนกันความร้อน มีให้เลือกใช้หลายประเภทและหลายรูปแบบ เช่น แบบแผ่น แบบม้วน และแบบสเปรย์ ซึ่งทำให้สามารถนำติดตั้งได้กับทั้งผนัง หลังคา พื้นทางเดิน และท่อต่าง ๆ เพื่อป้องกันการถ่ายเทความร้อนในทุกส่วนของตัวอาคารได้
ประเภทของแผ่นฉนวนกันความร้อน
แผ่นฉนวนกันความร้อนมีอยู่หลายประเภทด้วยกัน โดยแต่ละประเภทย่อมมีคุณสมบัติที่โดดเด่น ซึ่งเหมาะกับใช้งานที่ต่างกันออกไป ดังนี้
โฟมพียู (Polyurethane Foam)
โฟมพียูมักถูกใช้เป็นฉนวนกันความร้อนบริเวณหลังคา โดยวิธีติดตั้งสามารถทำได้ทั้งการฉีดและการติดตั้งโฟมพียูแบบเป็นแผ่น
โฟมพียูเป็นตัวเลือกที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอาคารอุตสาหกรรมและคลังเก็บสินค้า เนื่องจากเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดีและมีความทนทานสูง โดยความโดดเด่นของโฟมพียู มีดังนี้
- ลดการถ่ายเทความร้อนได้ดีที่สุด เมื่อเทียบกับฉนวนประเภทอื่น
- สามารถกันน้ำและความชื้นได้
- ป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกได้
- มีให้เลือกใช้ทั้งในรูปแบบสเปรย์และแบบแผ่น
- มีอายุการใช้งานที่นาน ความทนทานสูง
โฟมพีอี (Polyethylene Foam)
โฟมพีอี เป็นที่นิยมสำหรับอาคารที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์เนื่องจากมีราคาที่ประหยัด โฟมพีอีมักอยู่ในรูปแบบของแผ่นฉนวนที่มีความหนาและประกอบด้วยชั้นฟอยล์ ซึ่งช่วยลดอัตราการถ่ายเทของความร้อนจากภายนอกเข้าสู่อาคารได้ดี ความโดดเด่นของโฟมพีอี มีดังนี้
- เป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี
- ราคาประหยัด
- ติดตั้งง่าย
- มีน้ำหนักเบา
โฟมอีพีเอส (Polystyrene Foam)
โฟมอีพีเอส เป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ทนต่อความร้อนได้ดี และมีความทนทานต่อแรงกระแทก โฟมอีพีเอสสามารถติดตั้งได้ง่าย ทำให้ถูกนำไปใช้งานได้อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะกับการก่อสร้างและการทำบรรจุภัณฑ์ โดยข้อดีของโฟมอีพี มีดังนี้
- น้ำหนักเบา
- เป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี
- ทนทานต่อแรงกระแทก
- ติดตั้งและเคลื่อนย้ายได้ง่าย
ฉนวนไฟเบอร์กลาส
ฉนวนไฟเบอร์กลาส คือ แผ่นเส้นใยแก้วหนาที่ถูกห่อหุ้มไปด้วยชั้นฟอยล์ โดยช่องอากาศระหว่างเส้นใยแก้วเป็นตัวช่วยลดอัตราการถ่ายเทความร้อน ไฟเบอร์กลาสเป็นตัวเลือกที่มักถูกใช้ในบ้านพักอาศัย เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศร้อนภายนอกถ่ายเทเข้าสู่ภายในบ้าน ประโยชน์ของไฟเบอร์กลาส ได้แก่
- สามารถต้านทานความร้อนได้ดี
- ติดตั้งง่าย
- มีความหนาให้เลือกหลายระดับ
ฉนวนใยหิน
ฉนวนใยหิน หรือฉนวนร็อควูล (Rock wool) ทำมาจากหินบะซอลต์ซึ่งเป็นหินที่เกิดจากการเย็นตัวของลาวา ฉนวนใยหินมีความหนาแน่นสูง ทำให้มันเป็นฉนวนกันความร้อนที่ยอดเยี่อม และมักถูกใช้กับหลังคาแบบเมทัลชีท คุณสมบัติของฉนวนใยหิน ได้แก่:
- เป็นฉนวนกันความร้อนที่ยอดเยี่ยม
- มีความหนาแน่นสูง
- ป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกได้ดี
- มีความสามารถในการกันไฟ
วิธีเลือกใช้แผ่นฉนวนกันความร้อนให้เหมาะสม
การเลือกใช้แผ่นฉนวนกันความร้อนที่เหมาะสม จะช่วยคุณใช้พลังงานน้อยลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยสร้างบรรยากาศที่สบายภายในอาคาร โดยปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการเลือกประเภทฉนวนกันความร้อน มีดังนี้
ประเภทของอาคาร
อาคารแต่ละประเภทย่อมต้องการฉนวนกันความร้อนที่ต่างกัน เช่น
- ที่อยู่อาศัย: ฉนวนกันความร้อนจะช่วยให้บ้านมีความสบาย และประหยัดพลังงานได้มากขึ้น วัสดุฉนวนกันความร้อนที่เหมาะกับบ้านพักอาศัย ได้แก่ โฟมพียู และโฟมพีอี ซึ่งมีราคาเริ่มต้นที่ไม่สูง และให้คุณสมบัติความเป็นฉนวนที่ดี
- อาคารพาณิชย์: ออฟฟิศ ที่ทำงาน และพื้นที่พาณิชย์ต่าง ๆ เหมาะกับแผ่นฉนวนกันความร้อนที่สามารถป้องกันความชื้นและเสียงรบกวนจากภายนอกได้ วัสดุอย่างโฟมอีพีเอสและโฟมพียูจึงถือเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับอาคารพาณิชย์
- อาคารเชิงอุตสาหกรรม: โรงงาน และโรงเก็บสินค้าต้องการฉนวนกันความร้อนที่มีความทนทานสูง และมีอายุใช้งานที่นาน โฟมพียู จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับอาคารประเภทอุตสาหกรรม
สภาพอากาศ
สภาพอากาศในพื้นที่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญในการเลือกใช้แผ่นฉนวนกันความร้อนที่เหมาะสม
- อากาศร้อน: ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูง ฉนวนกันความร้อนถือเป็นสิ่งที่อาคารทุกอาคารควรติดตั้ง เพื่อลดการถ่ายเทความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ภายในให้ได้มากที่สุด โดยวัสดุอย่าง โฟมพียูที่ถ่ายเทความร้อนได้น้อยจึงเป็นตัวเลือกที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับอาคารในพื้นที่เขตร้อน
- อากาศหนาว: อาคารในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวต้องการแผ่นฉนวนกันความร้อนเพื่อรักษาความอบอุ่นภายในตัวอาคาร ตัวเลือกที่เหมาะสม ได้แก่ ฉนวนใยหิน และไฟเบอร์กลาสที่สามารถเก็บความร้อนไว้ในตัวอาคารได้
- อากาศที่มีความชื้น: อาคารในพื้นที่ที่มีความชื้นสูงย่อมต้องการฉนวนกันความร้อนที่สามารถป้องกันความชื้นได้ด้วย วัสดุที่เหมาะสมจึงได้แก่ โฟมพีอี ซึ่งสามารถป้องกันการเกิดเชื้อราตามผนังหรือราน้ำค้างภายในอาคารได้
งบประมาณ
ฉนวนกันความร้อนมีอยู่หลายประเภท และตัวเลือกที่ดีที่สุดควรจะเป็นตัวเลือกที่สอดคล้องกับงบประมาณของคุณ
- ตัวเลือกราคาประหยัด: โฟมพีอี เป็นหนึ่งในตัวเลือกราคาประหยัดที่มีประสิทธิภาพและได้รับความนิยมสูง
- ตัวเลือกคุณภาพสูง: โฟมพียู มีราคาเริ่มต้นที่สูง แต่มีคุณสมบัติการต้านทานความร้อนที่ดีที่สุด และยังมีความทนทาน ทำให้เป็นตัวเลือกที่คุ้มค่ากับการลงทุนในแง่ของการใช้งานในระยะยาว
- ค่าใช้จ่ายในระยะยาว: ถึงการติดตั้งแผ่นฉนวนกันความร้อนจะมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่สูง แต่ก็สามารถช่วยประหยัดพลังงายและลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงในระยะยาวได้
วิธีการติดตั้ง
การติดตั้งฉนวนกันความร้อนมีผลต่อทั้งงบประมาณและประสิทธิภาพการทำงาน
- ติดตั้งแบบ DIY: สำหรับการติดตั้งด้วยตัวเอง ควรเลือกวัสดุอย่าง โฟมพีอี หรือ โฟมอีพีเอส ที่มีน้ำหนักเบา และติดตั้งได้ง่าย
- ติดตั้งโดยผู้เชี่ยวชาญ: ฉนวนกันความร้อนในรูปแบบสเปรย์อย่างโฟมพียู อาจต้องการติดตั้งโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ
- ระยะเวลา และแรงงาน: คำนึงถึงระยะเวลาและแรงงานที่ต้องการก่อนเลือกติดตั้งแผ่นฉนวนกันความร้อนเสมอ เช่น ฉนวนแบบแผ่น หรือ แบบม้วน จะสามารถติดตั้งได้ง่ายและเร็วกว่า เมื่อเทียบกับการติดตั้งฉนวนแบบสเปรย์ หรือ แบบพ่น (Blown-in)
ความต้องการที่เฉพาะเจาะจง
อาคารแต่ละประเภท ย่อมมีความต้องการที่ต่างกัน ก่อนเลือกประเภทของแผ่นฉนวนกันความร้อน ควรมีการคำนึงถึงปัจจัยย่อยเหล่านี้
- การป้องกันเสียงรบกวน: โฟมพียู และฉนวนใยหิน ถือเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกับอาคารที่ต้องการการป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก
- คุณสมบัติในการกันไฟ: ฉนวนใยหิน ที่มีความสามารถในการกันไฟ ถือเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับอาคารที่ต้องการเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้อยู่อาศัย
- การป้องกันความชื้น: อาคารในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง เหมาะกับฉนวนกันความร้อนที่มีความสามารถในการกันน้ำ เช่น โฟมพีอี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อราภายในอาคาร
- ความทนทานของวัสดุ: โฟมพียูที่มีความทนทานสูง และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน เหมาะสมกับอาคารเชิงอุตสาหกรรม
ติดต่อ Flexipack วันนี้ เพื่อรับคำปรึกษา ฟรี
แผ่นฉนวนกันความร้อนที่เหมาะสม จะเป็นตัวช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงานได้ ที่ Flexipack เราเข้าใจถึงความต้องการที่แตกต่างในแต่ละโปรเจกต์การปลูกสร้างอาคาร และเราพร้อมที่จะจัดสรรสิ่งที่เหมาะสมที่สุดให้กับคุณ
ติดต่อเราวันนี้เพื่อรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญของเรา โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ให้ Flexipack ช่วยไขความกังวลที่คุณมีเกี่ยวกับแผ่นฉนวนกันความร้อนประเภทต่าง ๆ และมอบตัวเลือกที่ตอบโจทย์ที่สุดให้กับโปรเจกต์ของคุณ