Skip links

ประเภทของฟิล์มกันรอยขีดข่วน (Protective film) และวิธีเลือกใช้ให้เหมาะสม

ฟิล์มกันรอยขีดข่วน หรือ เทปป้องกันรอย คือ องค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยปกป้องพื้นผิวของสินค้าของคุณไม่ให้เกิดความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นพื้นผิวที่เพิ่งเคลือบสี พื้นผิวมีความบอบบาง หรือ แม้แต่ชิ้นส่วนในภาคอุตสาหกรรมที่ต้องเจอกับการเสียดสีบ่อย ๆ ฟิล์มกันรอยขีดข่วนก็สามารถป้องกันไม่ให้สินค้าเหล่านี้เกิดรอยยุบ รอยข่วน และคงสภาพดีอยู่เสมอได้

ในบทความนี้ Flexipack จะพาคุณไปเรียนรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของฟิล์มกันรอยขีดข่วนประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เทปป้องกันรอยสำหรับปกป้องพื้นผิว หรือฟิล์มกันรอยสำหรับป้องกันผิวเคลือบสี รวมถึงแนะนำวิธีการเลือกใช้ฟิล์มกันรอยขีดข่วนให้เหมาะสมกับความต้องการของคุณด้วย

ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของบ้าน ผู้รับเหมา หรือเจ้าของธุรกิจ Flexipack ก็หวังว่า บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจความแตกต่างของฟิล์มกันรอยขีดข่วนแต่ละประเภทมากขึ้น และเลือกใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมได้

ฟิล์มกันรอยขีดข่วน คืออะไร?

ฟิล์มกันรอยขีดข่วน (Protection film) หรือ เทปป้องกันรอย คือ วัสดุถูกออกแบบมาเพื่อปกป้องสินค้าในช่วงเวลาระหว่างการขนส่ง การจัดเก็บ และการใช้งาน โดยฟิล์มกันรอยขีดข่วนมักทำจากโพลีเมอร์พลาสติกที่มีความยืดหยุ่น ซึ่งจะทำหน้าที่เหมือนเกราะป้องกันไม่ให้สินค้าเกิดเป็นรอยขีดข่วน หรือรอยถลอกเสียหาย

ฟิล์มกันรอยขีดข่วน ถือเป็นบรรจุภัณฑ์ตัวหนึ่ง ที่มีความจำเป็นในหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องบิน อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุตสาหกรรมก่อสร้าง เนื่องจากมันจะเป็นตัวช่วยรักษาพื้นผิวของสินค้าให้ปราศจากร่องรอยต่าง ๆ ได้

ฟิล์มกันรอยขีดข่วน ทำมาจากอะไร?

ฟิล์มกันรอยขีดข่วน ทำมาจากวัสดุพลาสติกที่มีความทนทานสูง อย่างเช่น LDPE (low-density polyethylene), PVC (polyvinyl chloride), PP (polypropylene) หรือ Polyolefin โดยวัสดุเหล่านี้จะมีเนื้อที่โปร่งใส มีน้ำหนักเบา และให้การปกป้องได้ดี ทำให้มั่นใจได้ว่า พื้นผิวของสินค้าที่ถูกห่อหุ้มจะไม่เกิดรอยขีดข่วน และยังคงความสวยงามอยู่เสมอ

โดยองค์ประกอบของฟิล์มกันรอยขีดข่วนแต่ละประเภทก็ย่อมมีความหลากหลาย เพื่อให้ตอบโจทย์ลักษณะการใช้งานที่ต่างกัน เช่น ฟิล์มกันรอยที่มีความยืดหยุ่นสูง เหมาะใช้งานกับพื้นผิวที่มีความอ่อนตัว ในขณะที่ฟิล์มที่มีความยืดหยุ่นไม่มากนัก เหมาะกับการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง 

นอกจากนี้ ฟิล์มกันรอยขีดข่วนยังสามารถถูกผลิตให้มีคุณสมบัติพิเศษ เช่น คุณสมบัติกันสารเคมี รังสียูวี หรือคุณสมบัติสมานตัว (Self-healing) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานในสภาพแวลดล้อมต่าง ๆ ให้มากขึ้น 

ประเภทของฟิล์มกันรอยขีดข่วน

ฟิล์มหรือเทปกันรอยขีดข่วน มีอยู่หลายรูปแบบ และหลายประเภทให้เลือกใช้ โดยแต่ละชนิดจะถูกออกแบบมาให้สอดคล้องกับการใช้งานในลักษณะที่ต่างกัน 

1. เทปป้องกันพื้นผิว (Surface protection film)

เทปป้องกันพื้นผิว คือ แผ่นฟิล์มคุณภาพสูงที่ออกแบบมาสำหรับปกป้องพื้นผิวของสินค้าที่ความบอบบางโดยเฉพาะ ทั้งในขั้นตอนการผลิต การขนส่ง และการใช้งาน เทปป้องกันพื้นผิวสามารถติดตั้งได้ง่าย และยังลอกออกจากตัวสินค้าได้โดยไม่ทิ้งคราบหรือรอยใด ๆ  นอกจากนี้ ตัวเทปยังช่วยให้พื้นผิวของสินค้าดูเงางาม และเรียบเนียนด้วย

องค์ประกอบวัสดุ:

  • LDPE (Low-Density Polyethylene): ให้ความยืดหยุ่น และมีน้ำหนักเบา
  • PVC (Polyvinyl Chloride): ให้ความยืดหยุ่น และพื้นผิวที่เงางาม

ตัวอย่างการใช้งาน:

  • กระจก: ปกป้องหน้าต่างและประตูกระจกจากรอยขีดข่วนหรือสิ่งสกปรกระหว่างการก่อสร้าง
  • พื้นผิวพลาสติกและโลหะ: ใช้ในการผลิตเพื่อปกป้องพื้นผิวจากการขีดข่วนและรอยถลอก
  • หิน อิฐ และหินอ่อน: ปกป้องไม่ให้เกิดรอยขีดข่วนระหว่างการขนส่งและติดตั้ง

การใช้งานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ :

  • อุตสาหกรรมก่อสร้าง: ปกป้องหน้าต่าง เคาน์เตอร์ และชิ้นส่วนต่าง ๆ ระหว่างการก่อสร้างหรือการปรับปรุงโครงการ
  • ภาคการผลิต: ปกป้องชิ้นส่วนโลหะและพลาสติกจากรอยขีดข่วนและการกระแทกระหว่างการขนส่งและติดตั้ง
  • ธุรกิจค้าปลีก: ปกป้องสินค้าที่จัดแสดง เช่น หน้าจออิเล็กทรอนิกส์ หรือพื้นผิวที่มีการขัดเงา ให้คงอยู่ในสภาพสวยงามจนถึงมือผู้บริโภค

2. ฟิล์มกันรอยสำหรับพื้นผิวเคลือบสี (Paint Protection Film)

ฟิล์มกันรอยขีดข่วนสำหรับพื้นผิวเคลือบสี หรือ PPF (paint protection film) ถูกออกแบบมาเพื่อการปกป้องที่มากขึ้นด้วยวัสดุโพลีเมอร์อีลาสโตเมอร์ (Elastomer) วัสดุตัวนี้มีความยืดหยุ่นสูงและมีคุณสมบัติการสมานตัว (Self-healing) ที่ทำให้ฟิล์มสามารถคืนรูปเดิมได้หลังจากเกิดการขีดข่วนหรือแรกกระแทกเล็ก ๆ น้อย ๆ 

องค์ประกอบวัสดุ:

  • โพลีเมอร์อีลาสโตเมอร์ (Elastomeric Polymers): มีความยืดหยุ่นสูงและมีคุณสมบัติ Self-healing

ตัวอย่างการใช้งาน:

  • อะไหล่ยานยนต์: ปกป้องพื้นผิวของชิ้นส่วนภายนอกตัวรถ เช่น กันชน ฝากระโปรง และขอบประตู จากเศษหิน ดิน หรือสิ่งเร้าต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อม 
  • สินค้าอิเล็กทรอนิกส์: ปกป้องหน้าจอมือถือ หรืออุปกรณ์อื่นๆ จากการขีดข่วนและแรงกระแทก
  • ชิ้นส่วนของเครื่องบิน: ปกป้องพื้นผิวเครื่องบินจากเศษฝุ่นและสิ่งเร้าต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อม

การใช้งานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ:

  • อุตสาหกรรมยานยนต์: ฟิล์ม PPF ช่วยปกป้องสีรถจากการขีดข่วนของเศษหิน หรือการเสียดสีบนท้องถนน 
  • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์: ฟิล์ม PPF ช่วยป้องกันหน้าจอสมาร์ตโฟน แท็บเล็ต และแล็ปท็อป จากรอยขีดข่วน เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งาน
  • อุตสาหกรรมการบิน: ฟิล์ม PPF ช่วยป้องกันลำตัวและพื้นผิวภายนอกของเครื่องบินจากการขีดข่วนหรือความเสียหายที่มากับสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นมิตร

ฟิล์ม PPF และเทปป้องกันพื้นผิว ถือเป็นฟิล์มกันรอย 2 ประเภทที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุด แต่นอกจาก 2 ปรเภทนี้แล้ว ในท้องตลาดก็ยังมีฟิล์มป้องกันรอยขีดข่วนชนิดพิเศษ ออกแบบเพื่อการใช้งาที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้นด้วย 

3. ฟิล์มป้องกันรอยขีดข่วน ชนิดพิเศษ

ฟิล์มป้องกันรอยขีดข่วน ชนิดพิเศษ ถูกออกแบบมาเพื่อสินค้าที่ต้องการการดูแลที่เฉพาะเจาะจง โดยฟิล์มชนิดนี้จะมีการเพิ่มคุณสมบัติพิเศษ เช่น คุณสมบัติการทนทานต่อความร้อน การป้องกันรังสียูวี หรือความทนทานต่อสารเคมี 

ฟิล์มป้องกันรอยขีดข่วน ชนิดพิเศษ มักทำจาก โพลีโพรพิลีน (polypropylene, PP) และ โพลีโอเลฟิน (Polyolefin) ซึ่งเป็นวัสดุที่มีความทนทานสูง ใช้งานได้ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย เช่น โพลีโพรพิลีนสามารถทนความร้อนได้ดี เหมาะสำหรับการใช้งานในภาคการผลิตและการบรรจุ ในขณะที่ โพลีโอเลฟิน เหมาะกับการห่อหุ้มพื้นผิวที่เป็นกระจก หรือโลหะเคลือบสี

ตัวอย่างการใช้งาน:

  • อุปกรณ์ทางการแพทย์: ปกป้องเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์การขีดข่วนเสียหาย
  • ยุทโธปกรณ์: ปกป้องอุปกรณ์ทางการทหารจากความเสียหายจากสภาพแวดล้อมและการใช้งาน
  • เครื่องจักรในภาคอุตสาหกรรม: ป้องกันชิ้นส่วนของเครื่องจักรระหว่างการขนส่งและการใช้งาน

การใช้งานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ:

  • อุตสาหกรรมการแพทย์: ปกป้องอุปกรณ์ทางการแพทย์จากความเสียหาย เพื่อรักษาประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งาน
  • การทหาร: ปกป้องอุปกรณ์ทางทหารจากสภาวะแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย ยืดอายุการใช้งานของอาวุธและยานพาหนะ
  • อุตสาหกรรมทั่วไป: ใช้ในภาคอุตสาหกรรมเพื่อปกป้องเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ จากฝุ่น สารเคมี และการเสียดสีหรือขีดข่วน

4. ฟิล์มป้องกันรอยขีดข่วน แบบชั่วคราว

ฟิล์มป้องกันรอยขีดข่วนแบบชั่วคราว ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานในระยะสั้น มักถูกใช้เพื่อปกป้องพื้นผิวต่าง ๆ ในอาคาร ระหว่างการก่อสร้างหรือปรับปรุงโครงสร้าง ฟิล์มประเภทนี้สามารถติดตั้งได้ง่าย และแกะออกได้โดยไม่ทิ้งคราบ ซึ่งเพิ่มความสะดวกสำหรับการใช้งานแบบชั่วคราว

องค์ประกอบวัสดุ:

  • กระดาษ: ป้องกันรอยขีดข่วนที่เกิดจากการเสียดสี หรือแรงกระแทกเล็ก ๆ น้อย ๆ
  • โพลีเอธีลีน (Polyethylene, PE): มีราคาถูก ใช้ง่าย ทำให้ได้รับความนิยมสูง 

ตัวอย่างการใช้งาน:

  • งานก่อสร้าง: ปกป้องพื้นทางเดิน หน้าต่าง และข้าวของต่าง ๆ จาก สี ฝุ่น และการขีดข่วนระหว่างงานก่อสร้าง
  • งานอีเว้นท์หรือกิจกรรม: ปกปิดพื้นผิวต่าง ๆ ชั่วคราว เพื่อป้องกันความเสียหายระหว่างการติดตั้งพื้นที่และการรื้อถอน

การใช้งานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ:

  • อุตสาหกรรมก่อสร้าง: ผู้รับเหมามักใช้ฟิล์มป้องกันชั่วคราวปกปิดพื้นทางเดินและหน้าต่าง เพื่อป้องกันความเสียหายระหว่างการปรับปรุงอาคาร 
  • ธุรกิจการจัดงานอีเว้นท์: ผู้จัดงานมักใช้ฟิล์มป้องกันชั่วคราว เพื่อปกป้องพื้นและเวทีเกิดความเสียหายระหว่างการจัดงานกิจกรรมหรือนิทรรศการ

 

คุณสมบัติของฟิล์มกันรอยขีดข่วน

ฟิล์ม หรือ เทปกันรอยขีดข่วนเป็นตัวช่วยในการปกป้องพื้นผิวของสินค้า โดยคุณสมบัติที่โดดเด่นของฟิล์มกันรอยขีดข่วน มีดังต่อไปนี้

1. ความแข็งแรง ทนทาน

ฟิล์มป้องกันรอยขีดข่วนถูกออกแบบมาเพื่อปกป้องสินค้าไม่ให้เกิดรอยขูดขีดหรือรอยถลอก โดยโครงสร้างของวัสดุจะมีอายุการใช้งานที่นาน และมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมการใช้งานที่อาจไม่เป็นมิตร

ตัวอย่าง เช่น ฟิล์มป้องกันรอยขีดข่วน 3M Scotchgard ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่ช่วยปกป้องสีของรถยนต์ของเศษหิน ดิน ฝุ่น และ การเสียดสีหรือแรงกระแทกเล็ก ๆ น้อย ๆ ระหว่างการขับขี่ ซึ่งช่วยให้ภายนอกของตัวรถดูสง่างามอยู่เสมอ

2. ความโปร่งใส

ฟิล์มกันรอยขีดข่วนส่วนใหญ่จะมีเนื้อที่ใส สามารถปกป้องสินค้าได้โดยไม่ปิดบังสินค้า ทำให้เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกับสินค้าที่ต้องการโชว์รูปลักษณ์อย่างเต็มที่ เช่น ส่วนประกอบภายนอกของรถยนต์ หรือชิ้นส่วนอย่าง หน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดเป็นรอยได้ง่าย โดยความโปร่งใสของฟิล์มจะยังทำให้มองเห็นหน้าจอได้ชัดและให้การสัมผัส หรือ Touch sensitivity ที่ดีอยู่

3. ความยืดหยุ่น

วัสดุอย่าง อีลาสโตเมอร์ มีความยืดหยุ่นสูง สามารถอ่อนตัวได้ตามรูปร่างและพื้นผิวของสินค้า ซึ่งเหมาะกับสินค้ารูปร่างพิเศษที่ต้องการการปกป้องอย่างทั่วถึง 

ผู้ผลิตรถสปอร์ตและมอเตอร์ไซค์ เช่น เฟอรารี่ หรือ ดูคาติ นิยมใช้ฟิล์มอีลาสโตเมอร์เพื่อป้องกันการขีดข่วนรอบตัวยานพาหนะ ซึ่งย่อมให้การปกป้องที่ดีโดยที่ไม่บดบังดีไซน์ที่สวยงามของตัวรถ

4. คุณสมบัติ Self-Healing 

ฟิล์มกันรอยขีดข่วนชนิดพิเศษ เช่นน ฟิล์ม PPF จะมีคุณสมบัติการสมานตัว หรือ Self-healing ซึ่งทำให้ตัวฟิล์ม หรือเทปสามารถคงพื้นผิวที่เรียบลื่นได้หากต้องเจอกับการขีดข่วนหรือเสียดสีที่ไม่รุนแรง

5. การป้องกันรังสียูวี

รังสียูวีอาจทำให้พื้นผิวของสินค้าบางประเภทมีสีซีดจางหรือเกิดความเสียหาย ฟิล์มกันรอยขีดข่วนที่มีคุณสมบัติการป้องกันยูวี จึงถือเป็นตัวเลือกที่มีประโยชน์กับสินค้าที่ต้องเจอกับแสงแดดเป็นประจำ เช่น รถยนต์ หรือเครื่องบิน

6. การป้องกันสารเคมี

ฟิล์มกันรอยขีดข่วน สามารถช่วยปกป้องสินค้าจากสารเคมีและสารปนเปื้อนต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับสินค้าที่อาจจะถูกจัดเก็บในหรือใช้งานในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยสารเคมีหรือสิ่งสกปรก เช่น สินค้าประเภทเครื่องมือแพทย์ หรืออาวุธยุทโธปกรณ์

อุตสาหกรรมทางการแพทย์ มักใช้ฟิล์มกันรอยขีดข่วน เพื่อปกป้องเครื่องมือแพทย์จากสารทำความสะอาดมีฤทธิ์รุนแรงและสารคัดหลั่งจากร่างกายมนุษย์ เพื่อให้มั่นใจว่า เครื่องมือและอุปกรณ์นั้น ๆ จะใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยตลอดอายุการใช้งาน

7. ติดตั้งและแกะออกง่าย

ฟิล์มกันรอยขีดข่วนคุณภาพสูงจะถูกออกแบบมาให้ติดตั้งและลอกออกได้ง่ายโดยไม่ทิ้งคราบกาวหรือรอยไว้บนพื้นผิวของสินค้า ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้งานแบบชั่วคราว เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้างมักใช้ฟิล์มกันรอย 3M เพื่อปกป้องพื้นทางเดิน หน้าต่าง และพื้นผิวต่าง ๆ ในระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างอาคาร 

8. ความสามารถในการปรับแต่ง (Customizability )

ฟิล์มกันรอยขีดข่วน สามารถถูกปรับแต่งให้เข้ากับรูปร่างของสินค้าและลักษณะการใช้งานได้โดยไม่สูญเสียความสามารถในการปกป้อง คุณสมบัติข้อนี้ ทำให้ฟิล์มหรือเทปกันรอยมีประโยชน์กับอุปกรณ์หรืออะไหล่ในภาคอุตสาหกรรมซึ่งมักมีขนาดและรูปร่างที่หลากหลาย 

9. น้ำหนักเบา

ฟิล์มกันรอยขีดข่วน มีความแข็งแรงทนทานสูง แต่ก็มีน้ำหนักที่เบา ทำให้สามารถปกป้องสินค้าได้ดีโดยไม่เพิ่มน้ำหนักให้ตัวสินค้า ซึ่งเป็นคุณสมบัติมีประโยชน์ต่อการใช้งานในอุตสาหกรรมที่ความแม่นยำของน้ำหนักเป็นเรื่องสำคัญ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ หรืออุตสาหกรรมการบิน

วิธีเลือกฟิล์มกันรอยขีดข่วนให้เหมาะสม

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า ฟิล์มหรือเทปกันรอยขีดข่วนนั้น มีอยู่หลากหลายประเภทให้เลือกใช้ โดยปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการเลือกฟิล์มกันรอยขีดข่วนให้เหมาะสมกับความต้องการ มีดังนี้:

  • ประเภทของพื้นผิว: ประเภทพื้นผิวของสินค้า (เช่น โลหะ, พลาสติก, กระจก หรือ พื้นผิวที่มีการเคลือบสี) เป็นปัจจัยสำคัญที่ควรต้องคำนึงถึงก่อนตัดสินใจเลือกชนิดของฟิล์มกันรอยขีดข่วน เพราะพื้นผิวแต่ละประเภทย่อมต้องการฟิล์มที่มีคุณสมบัติต่างกันเพื่อการปกป้องที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
  • ลักษณะการใช้งาน: สภาพแวดล้อมย่อมมีผลต่อการเลือกชนิดของฟิล์มกันรอยขีดข่วน เราจึงควรมีการคำนึงก่อนเสมอว่า สินค้าจะต้องเจอกับสภาพแวดล้อมแบบไหนบ้าง เช่น อุณหภูมิที่สูง ความชื้น แสงแดด หรือสารเคมี เพื่อเลือกชนิดของฟิล์มที่จะสามารถใช้งานในสภาพแวดล้อมนั้น ๆ ได้อย่างเหมาะสม
  • ระดับความทนทานที่ต้องการ: พื้นผิวที่ต้องเจอกับการเสียดสีหรือแรงกระแทกบ่อย ๆ เช่น ชิ้นส่วนภายนอกของรถยนต์ หรือ ชิ้นส่วนของเครื่องจักร ย่อมต้องการฟิล์มป้องกันรอยขีดข่วนที่มีความทนทานสูง ในการเลือกชนิดของฟิล์ม จึงควรมีการคำนึงถึงระดับความทนทานของตัวฟิล์มที่สินค้าต้องการก่อน
  • ความโปร่งใส และรูปลักษณ์: สำหรับสินค้าที่ต้องการโชว์รูปลักษณ์ อย่าง ส่วนประกอบภายนอกของรถยนต์ หรือพื้นผิวต้องการการมองเห็นและการสัมผัสที่ดี อย่าง หน้าจอมือถือ จะเหมาะกับฟิล์มกันรอยขีดข่วนประเภทเนื้อโปร่งใส ซึ่งให้การปกป้องที่ดีโดยไม่บดบังความสวยงามหรือรบกวนการใช้งาน
  • ระดับความยืดหยุ่น: สินค้าที่มีรูปร่างพิเศษ ย่อมต้องการฟิล์มป้องกันรอยขีดข่วนที่มีขนาดและรูปร่างพอดีเพื่อให้ห่อหุ้มตัวสินค้าได้อย่างมิดชิดโดยไม่มีรอยย่นหรือช่องอากาศ ฟิล์มที่เหมาะสมจึงควรเป็นฟิล์มที่มีความยืดหยุ่นสูง เช่น ฟิล์มอีลาสโตเมอร์ 
  • คุณสมบัติ Self-healing: สินค้าที่ต้องเจอกับแรงกระแทก หรือการเสียดสีบ่อย ๆ ควรถูกห่อหุ้มด้วยฟิล์มป้องกันรอยขีดข่วนที่มีคุณสมบัติ Self-healing 
  • คุณสมบัติการป้องกันรังสียูวี และสารเคมี:  ฟิล์มที่เหมาะสมกับสินค้าในอุตสาหกรรมการแพทย์ ยานยนต์ และการบิน ควรมีคุณสมบัติในการป้องกันแสงยูวี และสารเคมี เพื่อการปกป้องที่มีประสิทธิภาพสูงสุด 
  • อายุการใช้งานและการรับประกัน: เลือกฟิล์มป้องกันรอยขีดข่วนที่มีอายุการใช้งานยาวนาน และมีการรับประกันคุณภาพ เพื่อให้มั่นใจว่า สินค้าของคุณจะได้รับการปกป้องสูงสุด ตัวอย่างเช่น ฟิล์มกันรอยขีดข่วนของ Pregis ซึ่งมาพร้อมกับประกันคุณภาพที่ครอบคลุมมากถึง 10 ปี 
  • ราคาและงบประมาณ: ฟิล์มป้องกันรอยขีดข่วนที่มีคุณภาพสูง อาจมีราคาเริ่มต้นที่แพง แต่มักให้การปกป้องที่เหนือชั้นและอายุการใช้งานที่นาน  ซึ่งจะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวได้
  • ความสามารถในการปรับแต่ง : หากสินค้าของคุณมีรูปร่างและขนาดที่หลากหลาย ควรเลือกฟิล์มกันรอยขีดข่วนที่สามารถปรับแต่ง หรือ custom-fit ตามรูปร่างของสินค้าได้ เพื่อให้มั่นใจว่า ทุกส่วนของสินค้าจะได้รับการปกป้องที่ดีเยี่ยม

ตารางด้านล่างนี้เป็นการสรุปความแตกต่างระหว่างเทปป้องกันพื้นผิว (Surface Protection film) และ ฟิล์มป้องกันผิวเคลือบสี (Painted Protection Film) ซึ่งเป็นฟิล์มป้องกันรอยขีดข่วน 2 ประเภทได้รับความนิยมสูงสุดในหลากหลายอุตสาหกรรม

คุณสมบัติเทปป้องกันพื้นผิว (Surface Protection Film)

ฟิล์มป้องกันผิวเคลือบสี (Protection Film for Painted Surfaces หรือ PPF)

การใช้งานหลักปกป้องพื้นผิวต่าง ๆ ระหว่างการผลิต การขนส่ง และการติดตั้งปกป้องพื้นผิวเคลือบสีจากการกระแทก การขีดข่วน และความเสียหายที่อาจเกิดจากสภาพแวดล้อม
โครงสร้างวัสดุLDPE, PVCElastomeric polymers
ความยืดหยุ่นปานกลางสูง
คุณสมบัติ Self-healing ไม่มีมี
ความทนทานมีความทนทาน เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไปมีความทนทานสูง ทนต่อแรงกระแทกและการเสียดสีได้ดี
การป้องกันรังสียูวีป้องกันได้ปานกลางป้องกันสูงสุด ช่วยไม่ให้สีของพื้นผิวซีดจาง หรือเสียหาย
ความทนทานต่อสารเคมีปานกลางสูง
ตัวอย่างการใช้งานกระจก หน้าต่างอาคาร พื้นผิวพลาสติก อิฐ และหินอ่อน ชิ้นส่วนภายนอกของรถยนต์หรือ เครื่องบิน และ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 

ให้ Flexipack ช่วยปกป้องสินค้าของคุณ

Flexipack เข้าใจดีว่า การรักษาสินค้าของคุณให้มีพื้นผิวที่สวยงามอยู่เสมอนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เราจึงยินดีจะจัดหา ให้คำปรึกษา และช่วยเหลือคุณในทุก ๆ ด้าน เพื่อให้ให้มั่นใจว่า สินค้าของคุณจะได้รับการปกป้องที่มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ความต้องการอย่างแท้จริง ไม่ว่าคุณจะอยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ การบิน อิเล็กทรอนิกส์ หรือธุรกิจก่อสร้าง

ทำไมถึงเลือก Flexipack?

  • ความเชี่ยวชาญ: ทีมของเราคือผู้เชี่ยวชาญทางด้านแพ็คเกจจิ้งโซลูชัน ยินดีให้คำปรึกษาและช่วยสรรหาฟิล์มป้องกันรอยขีดข่วนที่ตอบโจทย์ที่สุดสำหรับคุณ 
  • โซลูชันที่ตอบโจทย์:  Flexipack มีฟิล์มป้องกันรอยขีดข่วนที่สามารถ custom ได้ เพื่อให้เหมาะสมกับสินค้าและความต้องการ
  • คุณภาพและความทนทาน: ฟิล์มป้องกันรอยขีดข่วนของ Flexipack ขึ้นชื่อในเรื่องของคุณภาพ และความทนทาน และยังมาพร้อมกับคุณสมบัติ Sefl-healing 

ติดต่อเราวันนี้ เพื่อรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญของเราโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ให้ Flexipack ช่วยปกป้องและรักษาความสวยงามให้สินค้าของคุณ