Skip links

ฟิล์มพลาสติก: ประเภทและความแตกต่างด้านการใช้งาน

ฟิล์มพลาสติก เป็นวัสดุที่ขึ้นชื่อในด้านประโยชน์และการใช้งานที่หลากหลาย โดยเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญในหลากหลายธุรกิจ ตั้งแต่อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม ไปจนถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ ด้วยคุณสมบัติด้านความยืดหยุ่น ความทนทาน และความคุ้มค่าในด้านต้นทุน

อีกทั้งในปัจจุบันที่ความต้องการของโซลูชันบรรจุภัณฑ์ที่มีความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมกำลังเพิ่มมากขึ้น ฟิล์มพลาสติกประเภทต่างๆ ก็ได้รับการพัฒนา เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการตรงนี้ ในบทความนี้ Flexipack จึงอยากพาไปทำความรู้จักว่า ฟิล์มพลาสติกคืออะไร รวมถึงเจาะลึกความแตกต่างของแผ่นฟิล์มพลาสติกแต่ละประเภท ทั้งในด้านคุณสมบัติและรูปแบบการใช้งาน

ฟิล์มพลาสติก คืออะไร?

ฟิล์มพลาสติก คือ วัสดุโพลีเมอร์ที่มีคุณสมบัติหลายประการ และมีความอเนกประสงค์ในด้านการใช้งาน จึงถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมต่างๆ

แผ่นฟิล์มพลาสติก ผลิตด้วยการอัดเม็ดพลาสติกชนิดหลอมเหลวผ่านแม่พิมพ์เพื่อสร้างเป็นแผ่นบางๆ จากนั้นถูกทำให้เย็นลงจนและม้วนเป็นแผ่นต่อเนื่อง โดยมีทั้งแบบเนื้อใส โปร่งแสง หรือทึบแสง รวมถึงมีความหนาที่แตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน 

คุณสมบัติที่โดดเด่นและเป็นประโยชน์ของฟิล์มพลาสติก

  • ความทนทาน: ฟิล์มพลาสติกสามารถทนทานต่อการฉีกขาดและการเจาะได้ดี จึงเหมาะกับการนำมาทำเป็นบรรจุภัณฑ์
  • ความยืดหยุ่น: ฟิล์มพลาสติกมีความยืดหยุ่น ทำให้สามารถขึ้นรูปหรือปรับแต่งรูปทรงได้ง่าย และผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีรูปร่างแตกต่างกันได้ 
  • คุณสมบัติด้านการปกป้อง (Barrier Properties): ฟิล์มพลาสติกมีคุณสมบัติในการปกป้องสินค้าจากความชื้น ก๊าซ และสารปนเปื้อนได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งช่วยรักษาความสมบูรณ์ของสินค้า
  • ความคุ้มค่า: ฟิล์มพลาสติกมีน้ำหนักเบารวมถึงสามารถผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีอัตราสูญเสียวัสดุระหว่างการผลิตต่ำ จึงทำให้เป็นตัวเลือกบรรจุภัณฑ์ที่มีความคุ้มค่าด้านต้นทุน
  • ความโปร่งใส: ฟิล์มพลาสติกหลายชนิด มีเนื้อที่โปร่งใส ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากกับธุรกิจค้าปลีก เนื่องจากผู้บริโภคจะมองเห็นสินค้าที่ถูกห่อหุ้มด้วยฟิล์มได้ง่าย

ลักษณะการใช้งานทั่วไปของฟิล์มพลาสติก

ฟิล์มพลาสติก ถูกนำมาใช้อย่างหลากหลายในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยตัวอย่างการใช้งานที่พบเห็นได้บ่อย มีดังนี้:

  • บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร: ฟิล์มพลาสติกมักจะถูกนำมาใช้ในการห่อหุ้มอาหาร เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา และป้องกันอาหารจากความชื้นหรือสิ่งปนเปื้อน ไม่ว่าจะเป็นอาหารสด, อาหารแช่แข็ง หรือ ขนมขบเคี้ยว
  • อุปกรณ์หรือเวชภัณฑ์ทางการแพทย์: ในทางการแพทย์ ฟิล์มพลาสติก ถูกนำมาใช้เพื่อบรรจุอุปกรณ์และเครื่องมือที่ผ่านการฆ่าเชื้อ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนก่อนถูกนำไปใช้งาน
  • การเกษตร: ฟิล์มพลาสติกถูกนำไปใช้ในการเกษตร ในด้านการคลุมเรือนกระจก คลุมดิน เพื่อช่วยปกป้องพืชผลจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
  • การใช้งานในภาคอุตสาหกรรม: ในเชิงอุตสาหกรรม ฟิล์มพลาสติกถูกนำไปใช้ในภาคการผลิตสำหรับเป็นแผ่นคลุมปกป้อง วัสดุฉนวน รวมถึงเป็นส่วนประกอบในวัสดุคอมโพซิส (Composite Materials)
  • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์: ฟิล์มพลาสติกถูกใช้ในหลากหลายรูปแบบในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เพื่อป้องกันไฟฟ้าสถิต เพราะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีความบอบบางอย่างมาก ฟิล์มพลาสติกจะช่วยปกป้องชิ้นส่วนที่บอบบางจากการคายประจุไฟฟ้าระหว่างการผลิตและการบรรจุ นอกจากนี้ ยังถูกใช้เป็นวัสดุฉนวนและปกป้องสินค้าจากสิ่งปนเปื้อนด้วย

การทำความเข้าใจในคุณสมบัติเด่นของฟิล์มพลาสติก จะช่วยให้คุณสามารถเลือกใช้วัสดุตัวนี้ได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของคุณ

ฟิล์มพลาสติกประเภทต่างๆ 

ฟิล์มพลาสติกที่มีการใช้กันในปัจจุบัน มีอยู่หลายประเภท Flexipack จึงอยากพาคุณไปเจาะลึกคุณลักษณะเฉพาะ รวมไปถึงรูปแบบการใช้งานของฟิล์มพลาสติกแต่ละประเภท ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกใช้ 

ฟิล์มพลาสติก PVA

ฟิล์มพลาสติก PVA คือฟิล์มที่เคลือบด้วยโพลีไวนิลแอลกอฮอล์ (Polyvinyl alcohol) และสารอื่นๆ ในระดับนาโน ทำให้มี Barrier properties ที่ยอดเยี่ยม เหมาะกับการบรรจุเครื่องดื่ม น้ำผลไม้ นม ซอสถั่วเหลือง และน้ำส้มสายชู 

ฟิล์มพลาสติก PVA ยังมีประสิทธิภาพในด้านการห่อหุ้มและป้องกันที่ดีกว่าฟิล์ม EVOH แบบ 5 ชั้น จึงทำให้เป็นตัวเลือกสำหรับบรรจุภัณฑ์ปลอดเชื้อที่ดีและมีต้นทุนต่ำ 

ฟิล์มพลาสติก BOPP

ฟิล์มพลาสติก BOPP (Biaxially Oriented Polypropylene) ถูกผลิตโดยการรีด polypropylene ก่อนถูกนำไปยืดทั้งในแนวตั้งและแนวนอน กระบวนการผลิตนี้ช่วยเพิ่มความทนทาน, ความแข็งแรง, ป้องกันการรั่วไหลของอากาศ, ความโปร่งใส และให้วัสดุที่มีความมันเงา 

ฟิล์มพลาสติก BOPP ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากมีความใสและเหนียวเป็นพิเศษ แต่ว่าแผ่นฟิล์มพลาสติกประเภทนี้จะทนความร้อนได้ต่ำ ไม่สามารถซีลแบบร้อนได้ และมักจะต้องพึ่งการลามิเนตหรือเคลือบด้วยวัสดุอื่นๆ เช่น Polyethylene เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในส่วนนี้

ฟิล์มพลาสติก LDPE

ฟิล์มพลาสติก LDPE ถูกผลิตโดยการเป่าและการหล่อเพื่อขึ้นรูป มีลักษณะโปร่งแสง มันวาว ที่มาพร้อมกับสามารถทนต่อสารเคมีได้ดี และถูกซีลด้วยความร้อนได้ นอกจากนี้ ฟิล์มพลาสติก LDPE ยังมีความสามารถในการกันน้ำ กันความชื้น และทนต่อสภาวะแช่แข็งได้ จึงมักถูกใช้เป็นแผ่นฟิล์มชั้นในของบรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ไม่สามารถป้องกันออกซิเจนซึมผ่านได้

ฟิล์มพลาสติก PET

ฟิล์มพลาสติก PET ผลิตจาก Polyethylene Terephthalate ที่มีคุณสมบัติทางกายภาพที่ดีเยี่ยม มีความแข็งแรง ทนทานต่อการเจาะ และทนต่อสารเคมี ฟิล์มพลาสติก PET มักถูกใช้เป็นวัสดุภายนอกของบรรจุภัณฑ์แบบรีทอร์ท (Retort packaging) เนื่องจากมีความทนทานต่อทั้งอุณหภูมิสูงและต่ำ และยังรองรับการพิมพ์ลายได้ดีอีกด้วย

ฟิล์มพลาสติก PA

ฟิล์มพลาสติก PA หรือ ไนลอนฟิล์ม มีลักษณะโปร่งใส เงา และมีความทนทานสูง สามารถทนต่อแรงดึง, ความร้อน, ความเย็น, น้ำมัน และป้องกันออกซิเจนได้ดี จึงมักนิยมใช้ในการบรรจุอาหารที่มีความมัน, ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์, อาหารทอด, อาหารที่บรรจุแบบสุญญากาศ และอาหารนึ่ง

แต่ฟิล์มพลาสติก PA จะป้องกันไอน้ำได้ไม่ค่อยดีนัก และมีอัตราการซึมผ่านของความชื้นที่สูง 

ฟิล์มพลาสติก CPP

ฟิล์มพลาสติก CPP (Cast Polypropylene) ผลิตขึ้นจากการหล่อ Polypropylene ทำให้ได้ความโปร่งใส ความหนาแน่นสม่ำเสมอของวัสดุ และสามารถซีลร้อนได้ดี มีให้เลือกทั้งเกรดทั่วไปและเกรดสำหรับอาหาร โดยเกรดสำหรับอาหาร (Food Grade) จะทนต่อความร้อนสูงได้ดี ความโปร่งใส ความแข็งแรง และคุณสมบัติในการทนทานความร้น ทำให้ฟิล์มพลาสติก CPP มักถูกใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สินค้าประเภทเนื้อสัตว์ รวมถึงใช้ในการห่อสินค้าที่ต้องการโชว์รูปลักษณ์สวยงาม

ฟิล์มพลาสติกเคลือบโลหะ

ฟิล์มพลาสติกเคลือบโลหะ เช่น ฟิล์มโพลีเอสเตอร์เคลือบอะลูมิเนียม (VMPET) และฟิล์ม CPP เคลือบอะลูมิเนียม (VMCPP) เป็นการผสมผสานคุณสมบัติของแผ่นฟิล์มพลาสติกและโลหะเข้าด้วยกัน โดยการเคลือบอะลูมิเนียมจะเพิ่มคุณสมบัติป้องกันแสงยูวี ซึ่งยืดอายุการเก็บรักษาของสินค้า และช่วยเพิ่มความโดดเด่นของบรรจุภัณฑ์อีกด้วย 

ฟิล์มพลาสติกเคลือบโลหะ มักถูกใช้แทนฟอยล์อะลูมิเนียม เนื่องจากวัสดุมีรูปลักษณ์ที่สวยงามมากกว่า และต้นทุนที่คุ้มค่ากว่า

สรุปความแตกต่างด้านการใช้งานของฟิล์มพลาสติกประเภทต่างๆ

ประเภทฟิล์มพลาสติก

รูปแบบการใช้งาน

ฟิล์มพลาสติก PVAเครื่องดื่ม, น้ำผลไม้, นม, ซอสถั่วเหลือง, น้ำส้มสายชู
ฟิล์มพลาสติก BOPPการพิมพ์, บรรจุภัณฑ์, ฟิล์มชั้นนอกสำหรับฟิล์มคอมโพสิต (Composite film)
ฟิล์มพลาสติก LDPEบรรจุภัณฑ์อาหาร, ฟิล์มชั้นในสำหรับบรรจุภัณฑ์ประกอบ ( Composite packaging), มีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมต่างๆ
ฟิล์มพลาสติก PETRetort packaging, บรรจุภัณฑ์ที่ต้องสัมผัสกับอุณหภูมิสูง, วัสดุพิมพ์
ฟิล์มพลาสติก PAบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารที่มีความมัน, ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์, อาหารทอด, อาหารแพ็กแบบสูญญากาศ, อาหารนึ่ง
ฟิล์มพลาสติก CPPบรรจุภัณฑ์ของขวัญ, บรรจุภัณฑ์เนื้อสัตว์, การใช้งานกับอาหารที่ต้องสัมผัสกับอุณหภูมิสูง
ฟิล์มพลาสติกเคลือบโลหะบรรจุภัณฑ์ประกอบ, ใช้งานแทนฟอยล์อะลูมิเนียม, บรรจุภัณฑ์ที่เน้นความสวยงาม

เปรียบเทียบความแตกต่างของฟิล์มพลาสติกประเภทต่างๆ 

นอกจาก รูปแบบการใช้งานทั่วไปแล้ว เราขอเปรียบเทียบจุดแข็ง จุดอ่อน และการใช้งานที่เหมาะสมของฟิล์มพลาสติกประเภทต่างๆ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม

ประเภทฟิล์มพลาสติก

จุดแข็งจุดอ่อน

รูปแบบการใช้งานที่เหมาะสม

ฟิล์มพลาสติก PVAคุณสมบัติปกป้องดี,

คุ้มค่าด้านต้นทุน

ตัวเลือกมีจำกัดเนื่องจากมีการผลิตน้อยเครื่องดื่ม, น้ำผลไม้, นม, ซอสถั่วเหลือง, น้ำส้มสายชู
ฟิล์มพลาสติก BOPPความโปร่งใสสูง,
แข็งแรงทนทาน,
ป้องกันการรั่วไหลของอากาศ
ทนต่อการซีลด้วยความร้อนได้ไม่ดีการพิมพ์, บรรจุภัณฑ์, ชั้นนอกสำหรับฟิล์มคอมโพสิต
ฟิล์มพลาสติก LDPEทนต่อสารเคมี,
ซีลร้อนได้,
กันความชื้นได้
ป้องกันออกซิเจนซึมผ่านได้ไม่ดีบรรจุภัณฑ์อาหาร,
ฟิล์มชั้นในสำหรับ Composite Packaging
ฟิล์มพลาสติก PETแข็งแรงทนทาน,
ทนต่อการเจาะทะลุได้ดี
ต้นทุนสูงกว่าเมื่อเทียบกับประเภทอื่นๆRetort packaging, บรรจุภัณฑ์ที่ทนอุณหภูมิสูง
ฟิล์มพลาสติก PAทนต่อแรงดึง,
ป้องกันออกซิเจนได้ดี
กันไอน้ำได้ไม่ดี,
อัตราซึมผ่านของความชื้นสูง
อาหารที่มีความมัน,ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์,
อาหารแพ็กแบบสุญญากาศ
ฟิล์มพลาสติก CPPโปร่งแสง, รองรับการซีลด้วยความร้อนความทนทานต่ำกว่าเมื่อเทียบกับฟิล์มพลาสติก BOPPบรรจุภัณฑ์ของขวัญ, บรรจุภัณฑ์เนื้อสัตว์, การใช้งานกับการอาหารที่ใช้อุณหภูมิสูง
ฟิล์มพลาสติกเคลือบโลหะกันแสง UV,
ยืดอายุการเก็บรักษา,
รูปลักษณ์สวยงาม
ความยืดหยุ่นต่ำเมื่อเทียบกับฟิล์มพลาสติกที่ไม่เคลือบโลหะComposite packaging, การใช้งานแทนฟอยล์อะลูมิเนียม, 

ปรึกษา Flexipack ก่อนตัดสินใจเลือกใช้ฟิล์มพลาสติกในธุรกิจของคุณ

Flexipack เข้าใจถึงความสำคัญในการเลือกฟิล์มพลาสติกที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ ติดต่อเราเพื่อรับคำปรึกษาด้านคุณสมบัติ และการใช้งานของฟิล์มพลาสติกแต่ละประเภท และให้เราช่วยคุณตัดสินใจเลือกฟิล์มพลาสติกที่เหมาะสม สามารถปกป้องสินค้าของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มที่สุดสำหรับธุรกิจคุณ 

ติดต่อเรา วันนี้ เพื่อรับคำปรึกษาจากผู้เชี่วชาญโดยไม่มีค่าใช้จ่าย