Skip links

ถุงไฮเดน หรือ HDPE vs ถุง LDPE: แบบไหนที่ตรงกับการใช้งานของคุณ?

ถุงไฮเดน หรือถุงพลาสติก HDPE และ ถุงพลาสติก LDPE ต่างกันอย่างไร? ในการเลือกพลาสติกฟิล์มสำหรับการผลิตบรรจุภัณฑ์ สิ่งสำคัญที่คุณต้องรู้ ก็คือ ความแตกต่างระหว่าง พลาสติก LDPE (Low-Density Polyethylene) และ พลาสติก HDPE (High-Density Polyethylene หรือที่เรียกกันว่า ไฮเดน) โดยพลาสติกฟิล์มทั้ง 2 ชนิด ต่างเป็นที่นิยมและถูกใช้งานในหลากหลายวัตถุประสงค์ จนทำให้เกิดความเข้าใจว่า พลาสติกทั้งคู่สามารถใช้งานแทนกันได้

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ถุงพลาสติก LDPE และ ถุงพลาสติก HDPE หรือถุงไฮเดน นั้นมีคุณสมบัติโดดเด่นบางอย่างที่แตกต่างกัน รวมถึงมีความเหมาะสมในการใช้งานที่ต่างกันไปด้วย

ในบทความนี้ Flexipack จึงขอชวนคุณไปทำความรู้จักกับความแตกต่างระหว่างถุง LDPE และ ถุงไฮเดนหรือ HDPE แบบเจาะลึก ทั้งในด้านของลักษณะเฉพาะตัว คุณสมบัติเด่น และลักษณะการใช้งานที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้คุณมีข้อมูลมากพอในการเลือกใช้พลาสติกฟิล์มที่สอดคล้องกับความต้องการของคุณที่สุด ไม่ว่าจะเป็นในด้านการผลิตบรรจุภัณฑ์ การใช้ในงานภาคอุตสาหกรรม หรือในด้านอื่นๆ ก็ตาม

ถุงพลาสติก LDPE คืออะไร?

พลาสติก LDPE (Low-Density Polyethylene) เป็นพลาสติกฟิล์มที่มีความยืดหยุ่นสูง สีใส และทนทานต่อแรงดึงได้สูง โดยถุงจากพลาสติกชนิดนี้ มักถูกเรียกว่า ถุง PE

พลาสติก LDPE เป็นโพลีเมอร์แบบกิ่ง (Branching polyethylene molecules) ที่โมเลกุลมีการเรียงตัวแบบไม่อัดแน่น ส่งผลให้พลาสติก LDPE มีความหนาแน่นต่ำ เมื่อเทียบกับวัสดุโพลีเมอร์แบบเส้น อย่าง พลาสติก HDPE เป็นต้น

คุณสมบัติเด่นของพลาสติก LDPE

  • ความทนทานและความยืดหยุ่น : พลาสติก LDPE มีความยืดหยุ่นสูง และทนต่อแรงกระแทกหรือแรงดึงได้ดี เหมาะกับการใช้งานที่เน้นความทนทานและความยืดหยุ่นเป็นหลัก
  • ความใสของวัสดุ : โดยปกติ พลาสติก LDPE เป็นวัสดุที่มีความโปร่งใส ทำให้มองเห็นสินค้าที่อยู่ภายในได้ง่าย
  • ความทนทานต่อสารเคมีและการกันชื้น : พลาสติก LDPE ทนทานต่อสารเคมีและความชื้นได้ดี ซึ่งจะช่วยปกป้องสินค้าจากการปนเปื้อน และยังช่วยยืดอายุการเก็บรักษาของสินค้า
  • คุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้า : พลาสติก LDPE มีสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดี เหมาะกับการใช้งานในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  • รองรับการซีลด้วยความร้อน : LPDE มีจุดหลอมเหลวที่ต่ำ (ประมาณ 239°F หรือ 115°C) ทำให้เป็นตัวเลือกที่ดีในการใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ต้องปิดผนึกด้วยความร้อน และบรรจุภัณฑ์ที่มีการปิดผนึกสุญญากาศด้วย

ลักษณะการใช้งานทั่วไปของถุง LDPE

พลาสติก LDPE เหมาะกับการนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากลักษณะเฉพาะตัวที่มีความอเนกประสงค์ ซึ่งลักษณะการใช้งานของพลาสติก LDPE ที่เรามักพบเห็นได้บ่อย มีดังนี้ 

  • บรรจุภัณฑ์ต่างๆ  : พลาสติก LDPE ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ เช่น ถุงร้านสะดวกซื้อ พลาสติกแร็ป หรือ บรรจุภัณฑ์อื่นๆ ที่ต้องใช้คุณสมบัติด้านความยืดหยุ่น และนอกจากนี้ ด้วยลักษณะที่โปร่งใสและกันชื้น ก็ทำให้พลาสติก LDPE เป็นตัวเลือกที่ดีในการนำมาใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการโชว์ให้เห็นสินค้าด้านในด้วย
  • ภาชนะสำหรับอาหารและเครื่องดื่ม : พลาสติก LDPE ถูกนำมาใช้ในการผลิตภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อคงความสดใหม่และลดโอกาสในการปนเปื้อน
  • การใช้งานทางการแพทย์ : ความยืดหยุ่นและความทนทานต่อสารเคมีของพลาสติก LDPE ทำให้เหมาะสำหรับการผลิตกายอุปกรณ์เสริม (Orthopedics) และอวัยวะเทียม (Prosthetics)
  • การใช้งานในภาคอุตสาหกรรม : พลาสติก LDPE ถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างหลากหลายในงานภาคอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการผลิตแผ่นกันซึม หรือ แผ่นคลุมป้องกันเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ภายในโรงงาน

ถุงไฮเดน หรือ ถุงพลาสติก HDPE คืออะไร?

พลาสติก HPDE (High-Density Polyethylene) เป็นวัสดุที่มีความแข็งแรงทนทานสูง นิยมใช้ในงานที่ต้องการความทนทานแรงกระแทก ความคงทน และรวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่มีความหนาทึบ ตัวอย่างที่เห็นได้บ่อยนั่นก็คือ ถุงไฮเดน หรือที่หลายคนเรียกว่า ถุง HD ที่มีลักษณะเป็นถุงเนื้อขุ่นนั่นเอง

โดยพลาสติก HPDE จะมีความหนาแน่นสูงกว่า พลาสติก LDPE เนื่องจากเป็นโพลีเมอร์แบบเส้นที่โมเลกุลมีการเรียงตัวแบบอัดแน่น  

คุณสมบัติเด่นของพลาสติก HDPE

  • ความแข็งแรงทนทาน : พลาสติก HPDE ขึ้นชื่อเรื่องความแข็งแรงและความทนทานสูง ทนต่อแรงกระแทกได้ดีเยี่ยม จึงเหมาะกับการใช้งานที่ต้องการความคงทน ใช้ได้ยาวนาน 
  • ความทนทานต่อสารเคมี : พลาสติก HPDE สามารถทนทานต่อสารเคมีหลายชนิด จึงเหมาะอย่างยิ่งกับการใช้งานที่ต้องคำนึงถึงการสัมผัสกับสารกัดกร่อน
  • ความทนทานต่อแสง UV : พลาสติก HDPE มีความต้านทานต่อรังสี UV ที่ดี ทำให้เหมาะสำหรับการใช้งานกลางแจ้ง ที่ต้องเผชิญกับแสงแดดเป็นเวลานาน
  • การซึมซับน้ำต่ำ : พลาสติก HDPE มีการซึมซับน้ำที่ต่ำ ช่วยปกป้องผลิตภัณฑ์จากความเสียหายจากความชื้นและช่วยยืดอายุการเก็บรักษาด้วย
  • การรีไซเคิล : พลาสติก HDPE สามารถนำไปรีไซเคิลได้ ซึ่งช่วยลดขยะพลาสติกและสนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ลักษณะการใช้งานทั่วไปของถุง HDPE

ถุงไฮเดน เหมาะสมกับการใช้งานในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากมีความแข็งแรงทนทาน มีอายุการใช้งานยาวนาน และทนทานต่อปัจจัยแวดล้อม เช่น แสง UV สารเคมี และความชื้นได้ โดยตัวอย่างการใช้งานของพลาสติก HDPE ที่พบเห็นได้บ่อย มีดังนี้

  • การผลิตบรรจุภัณฑ์: พลาสติก HDPE มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในงานบรรจุภัณฑ์ เช่น ขวดอาหารและเครื่องดื่ม ถุงบรรจุสินค้า และแผ่นรองอุตสาหกรรม ความแข็งแรงและคุณสมบัติในการต้านทานสารเคมีทำให้พลาสติก HDPE ถูกใช้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย
  • การก่อสร้าง: พลาสติก HDPE ถูกนำไปใช้ในงานก่อสร้าง เช่น ฉนวนกันความชื้น แผ่นรองสำหรับบ่อและหลุม และแผ่นคลุมวัสดุก่อสร้าง
  • การเกษตร: ในด้านการเกษตร พลาสติก HDPE ที่มีความทนทานและป้องกันแสง UV ทำให้เหมาะสำหรับการใช้งานทางการเกษตรที่มีการใช้งานกลางแจ้งอย่างยิ่ง เช่น แผ่นคลุมเรือนกระจก ถุงหมัก หรือ ถุงคลุมหน้าดิน เป็นต้น
  • สินค้าบริโภค: พลาสติก HDPE ถูกนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคทั่วไปหลายชนิด เช่น เขียง ของเล่น และเฟอร์นิเจอร์ที่ต้องใช้กลางแจ้ง เพราะความแข็งและความทนทานต่อแรงกระแทกจึงทำให้เป็นตัวเลือกที่ไว้วางใจได้
  • การใช้งานในอุตสาหกรรม: พลาสติก HDPE ถูกนำไปใช้ในงานอุตสาหกรรมสำหรับหน้าแปลนของท่อ ถังสารเคมี รวมถึงการใช้งานอื่นๆ ที่ต้องการความแข็งแรงสูงและความทนทานต่อสารเคมี

ความแตกต่างระหว่างพลาสติก LDPE กับพลาสติก HDPE

พลาสติก LDPE และ พลาสติก HDPE อาจจะคุณสมบัติบางข้อที่คล้ายคลึงกัน เช่น การทนทานต่อสารเคมีหรือการรีไซเคิล แต่พลาสติกฟิล์มทั้ง 2 ชนิดก็ยังมีความแตกต่างบางอย่างที่ชัดเจน ไม่ว่าจะในด้านของความแข็งแรง ความยืดหยุ่น และความเหมาะสมในด้านการใช้งาน

และเพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น ตารางด้านล่างนี้ได้การเปรียบเทียบข้อดี ข้อจำกัดของพลาสติก LDPE และ พลาสติก HDPE ในแต่ละด้าน เพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกใช้ได้ง่ายขึ้น

พลาสติก LDPE

ข้อดีของพลาสติก LDPE

ข้อจำกัดของพลาสติก LDPE

  • ความคุ้มค่าด้านราคา: พลาสติก LDPE
    มีราคาค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับพลาสติกฟิล์ประเภทอื่น ทำให้เป็นตัวเลือกที่คุ้มค่าในด้านต้นทุน 
  • แปรรูปง่าย: จุดหลอมเหลวที่ต่ำและคุณสมบัติการเปลี่ยนแปลงรูปที่ดี ทำให้สามารถแปรรูปได้ง่ายโดยใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การฉีดขึ้นรูปและการอัดขึ้นรูป เป็นต้น
  • รีไซเคิลได้: ซึ่งช่วยลดขยะพลาสติก เป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
  • การทนต่อความร้อน: พลาสติก LDPE มีความทนทานต่อความร้อนต่ำกว่าเมื่อเทียบกับ HDPE จึงไม่เหมาะกับการใช้งานในอุณหภูมิสูง
  • การซึมผ่านของก๊าซ : พลาสติก LDPE มีคุณสมบัติที่ก๊าซบางชนิดสามารถซึมผ่านได้ดี เช่น คาร์บอนไดออกไซด์  ซึ่งอาจเป็นข้อจำกัดในการใช้งานบรรจุภัณฑ์บางประเภทต้องการคุณสมบัติในการป้องกันก๊าซซึมเข้า
  • ความสามารถในการติดไฟ:  พลาสติก LDPE ติดไฟได้ง่ายมาก จึงมีข้อจำกัดการทางการใช้งานในบริเวณที่มีเปลวไฟหรือสะเก็ดไฟ

พลาสติก HDPE

ข้อดีของพลาสติก HDPE

ข้อจำกัดของพลาสติก HDPE

  • ความแข็งแรงทนทานสูง: พลาสติก HDPE มีความแข็งแรงและความทนทานที่ดีเยี่ยม จึงเหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องรองรับน้ำหนักหรือแรงกระแทก
  • ความทนทานต่อสารเคมีและแสง UV: พลาสติก HDPE มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่ต้องเผชิญสารเคมีและแสง UV 
  • การกันความชื้น: การที่น้ำซึมผ่านพลาสติก HDPE ได้ยาก จะช่วยปกป้องสินค้าด้านในจากความเสียหายจากความชื้น และค่อนข้างมั่นใจในประสิทธิภาพระยะยาว
  • รีไซเคิลได้: ซึ่งช่วยลดขยะพลาสติก เป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
  • การแตกร้าว: พลาสติก HDPE อาจแตกร้าวได้ภายใต้แรงดันสูง ซึ่งอาจเป็นข้อจำกัดในการใช้งานบางสถานการณ์
  • การทนต่อความร้อน: ความทนทานของพลาสติก HDPE ต่อความร้อนอยู่ในระดับปานกลาง อาจไม่เหมาะกับการใช้งานที่ต้องอยู่ในอุณหภูมิสูงมาก เมื่อเทียบกับวัสดุประเภทอื่น
  • การหดตัว: พลาสติก HDPE อาจจะมีแนวโน้มที่จะหดตัวลงเมื่อผ่านกระบวนการขึ้นรูป จึงจำเป็นต้องมีแม่นยำและชำนาญในการควบคุมการผลิตบางวิธีการ เช่น การกลึง CNC และการฉีดขึ้นรูป

วิธีเลือกพลาสติกฟิล์มให้ตอบโจทย์ความต้องการคุณ

ในการเลือกระหว่างถุง LDPE และถุงไฮเดน หรือ HDPE จำเป็นต้องมีการพิจารณาปัจจัยในหลายๆ ด้าน โดยประเด็นหลักที่ควรต้องตรวจเช็กก่อนเลือกระหว่างพลาสติก LDPE และ พลาสติก HDPE มีดังนี้

ความต้องการในใช้งาน

  • ความแข็งแรง และ ความทนทาน: สำหรับการใช้งานที่ต้องการความแข็งแรงทนทานสูง เช่น ในงานก่อสร้าง หรือการใช้งานในอุตสาหกรรม พลาสติก HDPE จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกว่า แต่ในทางกลับกัน พลาสติก LDPE จะเป็นตัวเลือกที่ดีหากรูปแบบการใช้งานนั้น ต้องการวัสดุที่มีความยืดหยุ่นและดูดซับแรงกระแทกได้ดี เช่น บรรจุภัณฑ์ หรือ แผ่นฟิล์มป้องกันต่างๆ 
  • ความโปร่งใสของวัสดุ: ถ้าต้องการที่บรรจุภัณฑ์ที่สีใส มองเห็นสินค้าด้านในได้ การเลือกใช้พลาสติก LDPE จะสามารถตอบโจทย์ในข้อนี้ได้อย่างดี

การสัมผัสหรือเผชิญกับปัจจัยแวดล้อม

  • ความทนทานต่อรังสี UV: พลาสติก HDPE สามารถทนรังสี UV ได้ดีกว่า จึงเหมาะกับรูปแบบการใช้งานที่ต้องใช้กลางแจ้ง สัมผัสแสงแดดเป็นเวลานาน เมื่อเทียบกับพลาสติก LDPE
  • การกันความชื้น: ทั้งพลาสติก LDPE และ HDPE ต่างก็สามารถกันความชื้นได้ดี แต่ในพลาสติก HDPE จะมีอัตรการดูดซับน้ำที่ต่ำกว่า จึงมีประสิทธิภาพสูงกว่าเล็กน้อยในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง หรือ เมื่อสัมผัสน้ำโดยตรง 

ความทนทานต่อสารเคมี

  • การสัมผัสกับสารเคมี: พลาสติก HDPE มีความทนทานต่อสารเคมีหลากหลายชนิด จึงเหมาะนำไปใช้งานในรูปแบบที่ต้องสัมผัสกับสารเคมีที่สามารถกัดกร่อนได้ แต่ทั้งนี้ พลาสติก LDPE ก็สามารถทนทานต่อสารเคมีได้เช่นกัน เพียงแต่อาจจะมีประสิทธิภาพไม่สูงเท่า

ความทนทานต่ออุณหภูมิ

  • การทนทานความร้อน: พลาสติก HDPE มีจุดหลอมเหลวที่สูงกว่า (275°F หรือ 135°C) เมื่อเทียบกับพลาสติก LDPE (239°F หรือ 115°C) ซึ่งการตัดสินใจเลือก อาจจะต้องขึ้นอยู่กับความต้องการใช้งานของคุณ เพราะแม้ว่าพลาสติก HDPE จะทนทานต่อความร้อนได้สูง แต่ข้อดีของการใช้พลาสติก LDPE ที่จุดหลอมเหลวต่ำกว่านั้น เหมาะกับการซีลด้วยความร้อน หรือการฉีดขึ้นรูปมากกว่า

งบประมาณ

  • ต้นทุนด้านวัสดุ: พลาสติก LDPE มีราคาที่ต่ำกว่าพลาสติก HDPE ซึ่งถ้าต้นทุนวัสดุเป็นข้อจำกัดของคุณ การพิจารณาเลือกใช้พลาสติก LDPE ตามความเหมาะสมของรูปแบบการใช้งาน ก็อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า 
  • ความสามารถในการรีไซเคิล: ทั้งพลาสติก LDPE และ HDPE สามารถรีไซเคิลได้ ดังนั้นไม่ว่าการเลือกแบบไหนก็เป็นตัวเลือกที่ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมทั้งคู่

การผลิตและแปรรูป

  • กระบวนการผลิต: คุณสามารถพิจารณาจากความเข้ากันได้ระหว่างชนิดพลาสติกฟิล์ม และ กระบวนการผลิตได้เลย เช่น คุณสมบัติของพลาสติก HDPE เหมาะสำหรับการกลึงแบบ CNC ที่สามารถควบคุมความคลาดเคลื่อนได้อย่างแม่นยำ ในขณะที่คุณสมบัติพลาสติก LDPE จะเหมาะกว่ากับกระบวนการฉีดขึ้นรูป หรือ การอัดรีด

ด้านการใช้งานจริง

  • อายุการใช้งาน : ถ้าหากประเมินในแง่ของความทนทานต่อปัจจัยแวดล้อมและการใช้งานระยะยาว พลาสติก HDPE อาจเป็นตัวเลือกเหมาะสมกว่า แต่ในแง่ของการใช้งานระยะสั้นหรือต้องการความยืดหยุ่นในการใช้งาน พลาสติก LDPE จะตอบโจทย์ได้มากกว่า

การคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้จะช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกได้ว่า ระหว่างถุงพลาสติก LDPE หรือ ถุงไฮเดน พลาสติก HDPE แบบไหนเหมาะกับความต้องการใช้งานของคุณมากกว่า แต่หากยังไม่มั่นใจหรือยังมีความสับสนในระหว่างสองตัวเลือกนี้ การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุก็จะสามารถช่วยให้คุณได้รู้ข้อมูลเชิงลึก และตัดสินใจได้ง่ายขึ้นได้ 

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์อื่นๆ เช่น  ฟิล์มหด POF, flexible packaging, และ  ฟิล์ม BOPP ได้ในบทความของเรา

เปรียบเทียบให้ชัด : พลาสติก LDPE vs พลาสติก HDPE ต่างกันอย่างไร

เกณฑ์การเลือก

พลาสติก LDPE

พลาสติก HDPE

ความแข็งแรงและทนทาน✔️
ความเหนียวและยืดหยุ่น✔️
ความโปร่งใสของเนื้อวัสดุ✔️
การทนทานต่อแสง UV✔️
การกันความชื้น✔️✔️
การทนต่อสารเคมีกัดกร่อน✔️✔️
การทนความร้อน✔️
ความคุ้มค่าด้านราคา✔️
การรีไซเคิล✔️✔️
รองรับการกลึงแบบ CNC✔️
รองรับการฉีดขึ้นรูป✔️✔️
การใช้งานภายนอกหรือกลางแจ้ง✔️
รองรับการซีลด้วยความร้อน✔️
การใช้งานในอุณหภูมิสูง✔️

เลือกถุงไฮเดน พลาสติกฟิล์มที่ใช่ ตรงความต้องการที่สุดกับ Flexipack

สำหรับท่านที่กำลังมองหาพลาสติกฟิล์มอยู่ Flexipack มีทั้งพลาสติก LDPE และ พลาสติก HDPE ให้เลือกมากมายในหลายรูปแบบ ออกแบบมาให้ตรงกับความต้องการเฉพาะของคุณ โดยเราคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ ยินดีให้คำปรึกษาในการเลือกวัสดุที่เหมาะสม เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ของคุณจะได้รับการปกป้อง รวมถึงการทำให้การใช้งานเป็นไปอย่างราบรื่น 

ติดต่อเราวันนี้ เพื่อให้ Flexipack เป็นหนึ่งในพาร์ทเนอร์ที่ไว้วางใจได้ในด้านพลาสติกฟิล์ม