บรรจุภัณฑ์อาหาร: ประเภท ความปลอดภัย และวิธีเลือกใช้
บรรจุภัณฑ์อาหาร เป็นหัวใจสำคัญของอาหารแปรรูปในปัจจุบันด้วยไลฟ์สไตล์ของผู้คนเร่งรีบขึ้นทุกวัน ซึ่งแพ็คเกจใส่อาหารที่มีคุณภาพนั้น ไม่เพียงแต่ช่วยรักษาความสดใหม่และปลอดภัยของอาหาร แต่ก็ยังช่วยธุรกิจในด้านการตลาดและการจัดจำหน่ายอีกด้วย
ถึงบรรจุภัณฑ์อาหาร หรือ แพ็คเกจอาหาร จะเป็นองค์ประกอบสำคัญของโลกในปัจจุบัน แต่มันกลับมักถูกมองว่าเป็นเพียงวัสดุใช้แล้วทิ้ง ซึ่งจริงๆ แล้วประวัติและการพัฒนาของบรรจุภัณฑ์อาหารมีความเป็นมาอย่างยาวนาน ทำให้เรามีบรรจุภัณฑ์หลากหลายประเภทให้เลือกใช้ ในบทความนี้ Flexipack จะพาคุณไปเจาะลึกบรรจุภัณฑ์อาหารประเภทต่างๆ ตั้งแต่พลาสติก โลหะ ไปจนถึงแก้ว และเยื่อไม้
ในบทความนี้ คุณจะได้เรียนรู้วิธีการเลือกแพ็คเกจจิ้งใส่อาหารให้เหมาะกับความต้องการทางธุรกิจของคุณ โดยจะเน้นไปที่ความปลอดภัยและหลักความยั่งยืน (Sustainability) รวมไปถึงแนวโน้มในอนาคตที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ อาหาร รวมถึงวัสดุและวิธีการใหม่ๆ ที่มุ่งเน้นการลดต้นทุนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
บรรจุภัณฑ์อาหาร คืออะไร?
บรรจุภัณฑ์อาหาร หรือ แพ็คเกจจิ้งอาหาร คือ กระบวนการการห่อหุ้มอาหารด้วยวัสดุที่มีความปลอดภัยเพื่อคงความสดใหม่และคุณภาพของอาหารตั้งแต่การผลิตจนถึงการบริโภค โดยนอกจากหน้าที่ในการรักษาความสมบูรณ์และยืดอายุการเก็บของอาหารแล้ว บรรจุภัณฑ์อาหารยังช่วยเพิ่มความสะดวกในการเก็บรักษาและขนส่ง อีกทั้งยังเป็นตัวระบุข้อมูลสำคัญอย่าง ข้อมูลทางโภชนาการ ให้แก่ผู้บริโภคด้วย
บรรจุภัณฑ์อาหารที่มีประสิทธิภาพ จะเป็นเกราะป้องกันต่อการปนเปื้อนทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ โดยป้องกันการเน่าเสียที่เกิดจากการสัมผัสกับอากาศ ความชื้น และจุลินทรีย์ ทำให้อาหารคงความสดใหม่และสามารถเก็บไว้บริโภคได้นานขึ้น
ประเภทของวัสดุที่ใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์อาหาร
บรรจุภัณฑ์อาหาร มีอยู่หลากหลายรูปแบบ ซึ่งบออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการในการเก็บรักษา การป้องกัน และการทำการตลาดที่ต่างกัน วัสดุที่ใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารแต่ละชนิดย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป การเลือกประเภทวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญต่อผู้ประกอบการเป็นอย่างมาก
โดยวัสดุที่มักนำมาใช้เพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์อาหาร มีดังนี้:
พลาสติก
พลาสติก เป็นวัสดุที่พบได้ทั่วไปในอุตสาหกรรมอาหาร เนื่องจากมีความเอนกประสงค์และต้นทุนต่ำ พลาสติกหลายชนิด เช่น โพลิเอทิลีน (PET, HDPE, LDPE) บรรจุภัณฑ์แบบลามิเนตที่ยืดหยุ่น และโพลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) ถูกใช้ในการบรรจุอาหารทั้งแบบแห้งและแบบเปียก เพราะมีน้ำหนักที่เบา มียืดหยุ่นและสามารถกันชื้นได้ดี
อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี แพ็คเกจจิ้งอาหารที่เป็นพลาสติกจะไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ข้อดี | ข้อเสีย |
|
|
โลหะ
โลหะ เช่น อะลูมิเนียม หรือ ดีบุก ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในบรรจุภัณฑ์อาหาร โดยเฉพาะกับอาหารกระป๋องและเครื่องดื่ม เพราะเป็นวัสดุมีความทนทาน ป้องกันการปนเปื้อนได้ดี และสามารถนำไปรีไซเคิลได้ แต่แพ็คเกจอาหารที่เป็นโลหะอาจมีราคาสูง และจำเป็นต้องใช้มีการเคลือบป้องกันการกัดกร่อนในหลาย ๆ กรณี
ข้อดี | ข้อเสีย |
|
|
แก้ว
แก้ว เป็นหนึ่งในวัสดุบรรุภัณฑ์ที่ใช้มาอย่างยาวนานและเป็นวัสดุที่ไม่ค่อยเกิดปฏิกิริยาเมื่อสัมผัสกับสารต่าง ๆ จึงเหมาะกับการเก็บรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหาร แก้วมักถูกใช้ในการบรรจุเครื่องดื่ม น้ำมัน และน้ำเชื่อม โดยบรรจุภัณฑ์อาหารที่ทำจากแก้วสามารถนำไปรีไซเคิลได้และมีข้อดีที่ความโปร่งใส ทำให้เห็นสินค้าด้านในได้ชัดเจน แต่ก็มีข้อเสียตรงที่น้ำหนักมากและเปราะบาง ซึ่งจะยากต่อการขนส่ง
ข้อดี | ข้อเสีย |
|
|
ไม้ หรือ เยื่อไม้
เยื่อไม้ เช่น กระดาษลัง กระดาษอื่นๆ ก็ถูกใช้อย่างแพร่หลายในบรรจุภัณฑ์อาหารเช่นกัน กระดาษลังหรือกระดาษแข็งมักใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ชั้นนอก ในขณะที่กระดาษธรรมดาสามารถใช้เป็นบรรจุภัณฑ์หลักของอาหารแห้งได้ วัสดุประเภทไม้หรือเยื่อไม้มีน้ำหนักเบา ราคาถูก และสามารถรีไซเคิลได้ จึงทำให้มันเป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมอาหาร
ข้อดี | ข้อเสีย |
|
|
เซรามิก
บรรจุภัณฑ์อาหารที่ทำจากเซรามิกอาจไม่ค่อยเป็นที่นิยม แต่ก็มีคุณสมบัติพิเศษตรงที่ เซรามิกไม่ก่อสารพิษหรือไม่ทำปฏิกิริยาใดๆ สัมผัสกับอาหาร อีกทั้งยังมีความสวยงามและย่อยสลายได้ แต่ก็มีความเปราะบางและมีราคาที่แพงเมื่อเทียบกับพลาสติก
ข้อดี | ข้อเสีย |
|
|
เซลลูโลส
บรรจุภัณฑ์อาหาร ที่ทำจากเซลลูโลส เช่น เซลโลเฟน เป็นวัสดุจากพืช สามารถย่อยสลายได้ และมีความทนทานต่อความชื้นและความร้อน ทำให้เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถทดแทนพลาสติกได้ แต่ก็มีจุดด้อยตรงที่ความแข็งแรงต่ำ และมีข้อจำกัดในการทนต่อแรงกระแทก
ข้อดี | ข้อเสีย |
|
|
วิธีการเลือกวัสดุบรรจุภัณฑ์ อาหาร ให้เหมาะกับความต้องการ
การเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์อาหาร เป็นการตัดสินใจที่สำคัญซึ่งจะส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค อายุการเก็บของอาหาร ต้นทุน และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาก่อนเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร มีดังนี้:
คุณสมบัติในการป้องกัน
วัสดุบรรจุภัณฑ์อาหาร ควรมีคุณสมบัติในการป้องกันปัจจัยภายนอกอย่าง ความชื้น ออกซิเจน แสง และจุลินทรีย์ ตัวอย่างเช่น พลาสติกและโลหะซึ่งสามารถกันความชื้นและออกซิเจนได้ดี จะช่วยรักษาความสดใหม่และยืดอายุการเก็บของอาหารได้
ความปลอดภัยของอาหาร
ต้องมั่นใจว่า วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เลือกใช้มีความปลอดภัย ไม่ทำปฏิกิริยาใดๆ กับอาหาร วัสดุ เช่น แก้วและพลาสติกบางชนิด (เช่น PET) มึความเฉื่อยต่อแก๊สและไม่ปล่อยสารอันตรายเข้าสู่อาหาร โดยผู้ประกอบการควรตรวจสอบการรับรองและการปฏิบัติตามระเบียบด้านความปลอดภัยของอาหารควบคู่ไปด้วย
ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
พิจารณาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ และเลือกใช้วัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ หรือผลิตจากทรัพยากรหมุนเวียน เช่น กระดาษ กระดาษแข็ง และพลาสติกบางชนิด หรือเลือกใช้วัสดุประเภทเซลลูโลสที่มีที่มาจากธรรมชาติ
ต้นทุน
ประเมินความคุ้มค่าของวัสดุบรรจุภัณฑ์อาหาร เพราะแม้ว่าวัสดุอย่างแก้วและโลหะ จะมีความสามารถในการปกป้องที่เหนือกว่า แต่ก็มีต้นทุนที่สูงกว่าพลาสติกหรือกระดาษ ความพอดีระหว่างต้นทุนกับประสิทธิภาพจึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงด้วย
ความสะดวกสบายของผู้บริโภค
บรรจุภัณฑ์อาหาร ควรใช้งานง่ายและสะดวกสำหรับผู้บริโภค เช่น เปิด-ปิดง่าย สะดวกต่อการพกพา และสามารถใช้ซ้ำได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่จะเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภคมากขึ้น
อายุการเก็บ
อาหารแต่ละชนิดมีอายุการเก็บที่ไม่เท่ากัน จึงควรเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่สามารถรักษาคุณภาพอาหารได้ตามอายุการเก็บรักษา เช่น พลาสติกที่ซีลสุญญากาศ สามารถยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ที่เน่าเสียง่ายให้นานขึ้นได้
ประเภทของผลิตภัณฑ์
พิจารณาถึงลักษณะของผลิตภัณฑ์อาหาร ไม่ว่าจะ อาหารสด อาหารแห้ง อาหารที่มีกรดหรือมีน้ำมัน ก่อนเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์เสมอ ตัวอย่างเช่น แก้วจะเหมาะสำหรับอาหารที่มีความเป็นกรด ในขณะที่พลาสติกเหมาะสำหรับอาหารแห้ง และ โลหะเหมาะสำหรับทั้งอาหารแห้งและอาหารสด เป็นต้น
ภาพลักษณ์ของแบรนด์และด้านการตลาด
นอกจากใช้เป็นแพ็คเกจอาหารแล้ว วัสดุบรรจุภัณฑ์ยังส่งผลต่อประสิทธิภาพด้านการตลาดด้วยเช่นกัน ผู้ประกอบการจึงควรเลือกวัสดุที่สามารถแสดงข้อมูลของผลิตภัณฑ์และแบรนด์ได้ดี เช่น วัสดุประเภทกระดาษที่เหมาะสำหรับการพิมพ์ เพื่อให้ข้อมูลและเพิ่มความน่าสนใจให้กับอาหารภายใน
การปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ
ตรวจเช็กให้มั่นใจว่า วัสดุบรรจุภัณฑ์อาหารที่ใช้ สอดคล้องกับข้อปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านบรรจุภัณฑ์อาหารทั้งในประเทศและสากล รวมถึงการใช้วัสดุที่ได้รับการอนุมัติสำหรับการสัมผัสกับอาหารและการติดฉลากข้อมูลอย่างชัดเจน
โลจิสติกส์และการขนส่ง
พิจารณาถึงความทนทานและน้ำหนักของวัสดุบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อค่าขนส่งและค่าดำเนินการโลจิสติกส์ วัสดุที่มีน้ำหนักเบาอย่าง พลาสติก สามารถช่วยลดต้นทุนการขนส่งได้ ในขณะที่วัสดุที่มีความทนทานสูง เช่น โลหะ อาจจะทำให้ค่าขนส่งสูงขึ้น แต่ก็แลกมาด้วยความมั่นใจว่า สินค้าได้รับการปกป้องอย่างดี
การพิจารณาปัจจัยเหล่านี้อย่างรอบคอบ จะทำให้คุณสามารถเลือกวัสดุบรรจุภัณฑ์อาหารที่ตอบโจทย์ธุรกิจของคุณ ให้คุณมั่นใจได้ถึงความปลอดภัยของสินค้า เพิ่มความพึงพอใจให้แก่ผู้บริโภค และยังเป็นวิถีที่สอดคล้องกับแนวคิดความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
แนวทางในการลดต้นทุนของบรรจุภัณฑ์อาหาร
บรรจุภัณฑ์อาหาร เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในอุตสาหกรรมอาหารก็จริง แต่ก็สามารถกลายเป็นองค์ประกอบที่ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นได้เช่นกัน เพื่อให้ตอบโจทย์ทั้งประสิทธิภาพในการปกป้องสินค้าและยังสามารถสร้างผลกำไร รวมถึงลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเวลาเดียวกัน ในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ ผู้ประกอบการจึงควรต้องมีกลยุทธ์ในตัดสินใจที่เหมาะสม
- การใชระบบแพ้คเกจจิ้งอัตโนมัติ: การนำระบบอัตโนมัติมาใช้ สามารถลดต้นทุนแรงงาน ลดข้อผิดพลาด และเพิ่มความเร็วในการผลิตและการบรรจุได้ ในขณะที่ยังคงไว้ซึ่งคุณภาพที่สม่ำเสมอ ตัวอย่างเช่น การใช้หุ่นยนต์ในการบรรจุ ปิดผนึก หรือติดฉลากบนบรรจุภัณฑ์อาหาร
- การปรับขนาดบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสม: หนึ่งในกลยุทธ์การลดต้นทุน คือการปรับปรุงขนาดของบรรจุภัณฑ์ให้พอดีและเหมาะสมสินค้า เพราะจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง และลดปริมาณการใช้วัสดุ รวมถึงเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภคด้วย
- พิจารณานำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้: ไม่ว่าจะเป็นวัสดุหรือเทคโนโลยีด้านบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถนำไปสู่การช่วยประหยัดต้นทุนได้โดยยังได้คุณภาพเช่นเดิมหรือดีกว่า เช่น วัสดุที่ย่อยสลายได้, บรรจุภัณฑ์แอคทีฟ (Active Packaging), หรือวัสดุใหม่ๆ ที่มีความบางกว่าแต่มีความแข็งแรงทนทาน เป็นต้น
- การรีไซเคิล: การเลือกใช้วัสดุรีไซเคิลเป็นทั้งการประหยัดต้นทุนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม บรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ มักจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า และช่วยดึงดูดผู้บริโภคที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมได้ด้วย นอกจากนี้ การมีกระบวนการรีไซเคิลเป็นของตัวเองในธุรกิจ ยังเป็นอีกหนทางหนึ่งที่สามารถลดต้นทุนในการกำจัดขยะลงได้เช่นกัน
- ลดการใช้วัสดุเกินความจำเป็น: การลดการใช้บรรจุภัณฑ์ซ้ำซ้อน รวมถึงการลดการใช้วัสดุที่มากเกินจำเป็น สามารถช่วยลดต้นทุนลงได้ ซึ่งแนวคิดหรือวิถีปฏิบัตินี้ควรถูกส่งต่อให้ฝ่ายผู้ดำเนินงานผ่านการอบรบหรือ Training เพื่อให้เข้าใจและสามารถปฏิบัติตามกลยุทธ์ได้
กลยุทธ์ต่างๆ เหล่านี้ถือเป็นแนวทางที่จะสามารถช่วยลดต้นทุนด้านบรรจุภัณฑ์ลงได้ โดยจะยังคงไว้ซึ่งคุณภาพของสินค้า ช่วยสร้างผลกำไรเพิ่มเติม และตอบโจทย์แนวคิดการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
เริ่มต้นการใช้โซลูชันบรรจุภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพและคุ้มค่า กับ Flexipack
การเลือกบรรจุภัณฑ์อาหารที่เหมาะสมสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายและสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับธุรกิจของคุณได้ ที่ Flexipack เรายินดีให้คำปรึกษาและนำเสนอโซลูชันใหม่ๆ มากมายที่จะตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณ