Skip links

เลือก “ถุงกันไฟฟ้าคอนดัคทีฟ” อย่างไร ให้เหมาะสมกับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์

“ถุงกันไฟฟ้าแบบคอนดัคทีฟ” เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกบรรจุภัณฑ์ที่จะสามารถป้องกันสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากปฏิกิริยาไฟฟ้าสถิตได้ ซึ่งถุงคอนดัคทีฟก็มีให้เลือกใช้อยู่หลายประเภทซึ่งมีคุณสมบัติต่างกัน เช่น ถุงคอนดัคทีฟสีเงิน ถุงคอนดัคทีฟสีดำ และถุงแบบ antistatic การเลือกใช้ถุงคอนดัคทีฟให้เหมาะสมกับตัวสินค้าจึงเป็นสเต็ปที่ผู้ผลิตควรให้ความใส่ใจ

ในบทความนี้ Flexipack จะพาคุณไปทำความรู้จักกับคุณสมบัติของ ถุงกันไฟฟ้าคอนดัคทีฟ แต่ละประเภท ทั้งข้อดี ข้อเสีย และวิธีการใช้งาน ซึ่งจะช่วยให้คุณเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าคุณจะกำลังมองหาถุงกันไฟฟ้าในการบรรจุสินค้าระหว่างขนส่ง หรือระหว่างการจัดเก็บ บทความนี้จะเป็นตัวช่วยให้คุณเอง

ถุงกันไฟฟ้าคอนดัคทีฟ คืออะไร

ถุงกันไฟฟ้าแบบคอนดัคทีฟ (Conductive bag) หรือที่คุ้นหูคุ้นตาในรูปแบบของ ถุงกันไฟฟ้าสีดำทึบ คือ ถุงที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จากปฏิกิริยาไฟฟ้าสถิต (Electrostatic discharge, ESD) และสิ่งเร้าต่าง ๆ ภายนอกถุงที่อาจทำให้เกิดความเสียหาย โดยทั่วไปแล้ว ถุงกันไฟฟ้าคอนดัคทีฟจะผลิตจากวัสดุในกลุ่ม โพลีเอธีลีน ซึ่งมีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้า (conductivity) เล็กน้อยซึ่งจะทำให้มีความสามารถในการป้องกันไฟฟ้าสถิตแบบกรงฟาราเดย์ (Faraday Cage) ซึ่งจะช่วยปกป้องสินค้าภายในไม่ให้สูญเสียฟังก์ชันการทำงานได้

วัสดุและโครงสร้างของถุงกันไฟฟ้าคอนดัคทีฟ

ถุงกันไฟฟ้าคอนดัคทีฟ มักมีสีดำทึบ หรือสีเงิน ซึ่งขึ้นอยู่กับวัสดุโครงสร้างของถุง โดยถุงคอนดัคทีฟสีดำทำมาจากโพลีเอธีลีน และถุงคอนดัคทีฟสีเงิน ทำจากฟิล์ม PET ผสมโลหะ

ถุงกันไฟฟ้าทั้งสองชนิด มีความสามารถในการป้องกันไฟฟ้าสถิตที่ยอดเยี่ยม โดยถุงคอนดัคทีฟสีดำมักถูกใช้ในพื้นที่ EPA (Electrostatic Protected Area) หรือพื้นที่ทำงานถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิตโดยเฉพาะ

ถุงคอนดัคทีฟ ทำงานอย่างไร

ถุงคอนดัคทีฟ มีชั้นวัสดุที่มีคุณสมบัติเป็นตัวนำไฟฟ้า ซึ่งจะทำหน้าที่ช่วยให้ประจุไฟฟ้ากระจายตัวบนพื้นผิวของถุงได้โดยไม่เกิดการสะสม วัสดุนำไฟฟ้าทำให้เกิดกรงฟาราเดย์ ซึ่งป้องกันสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ภายในจากปฏิกิริยาไฟฟ้าสถิตภายนอกได้

การป้องกันแบบกรงฟาราเดย์ (Faraday Cage): “กรงฟาราเดย์” เป็นการป้องกันสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งได้ชื่อมาจากนักฟิสิกส์ ไมเคิล ฟาราเดย์ 

หลักการ: กรงฟาราเดย์ประกอบด้วยวัสดุที่มีความสามารถในการทำไฟฟ้า (conductivity) ที่ปล่อยให้ประจุไฟฟ้าสามารถวิ่งกระจายตัวได้ทั่วพื้นผิว และไม่เกิดการสะสม

การทำงาน: เมื่อประจุไฟฟ้าจากภายนอก สัมผัสกับวัสดุตัวนำไฟฟ้า อิเล็กตรอนจะเกิดการเรียงตัวใหม่เพื่อสร้างสนามไฟฟ้าขั้วตรงข้าม ทำให้ไม่เกิดปฏิกิริยาไฟฟ้าสถิต

การใช้งาน: หลักการกรงฟาราเดย์ถูกใช้ในการทดสอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงการขนส่งและการบรรจุชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความเซ็นซิทีฟต่อปฏิกิริยาไฟฟ้าสถิต

คุณสมบัติการป้องกันในรูปแบบนี้ ทำให้ถุงคอนดัคทีฟถูกใช้อย่างแพร่หลายในการขนส่งและจัดเก็บอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น semiconductors, แผงควบคุมวงจร หรือชิ้นส่วนอื่น ๆ ที่อาจเสียหายเมื่อเกิดปฏิกิริยาไฟฟ้าสถิต

ประโยชน์ของถุงกันไฟฟ้าคอนดัคทีฟ

ถุงคอนดัคทีฟ เป็นตัวเลือกบรรจุภัณฑ์ที่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไว้ใจ ด้วยคุณสมบัติและข้อดี ต่อไปนี้

1. การป้องกันไฟฟ้าสถิต 

ถุงคอนดัคทีฟ สามารถปกป้องสินค้าภายในจากปฏิกิริยาไฟฟ้าสถิตภายนอกได้ด้วยหลักการของกรงฟาราเดย์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ในการรักษาฟังก์ชันและอายุการใช้งานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น semiconductors, โปรเซสเซอร์, หรือ แผงควบคุมวงจร

2. ความอเนกประสงค์

ถุงกันไฟฟ้าคอนดัคทีฟ มีให้เลือกใช้ในหลายขนาด และหลายรูปแบบ ทำให้สามารถรองรับสินค้าที่ต่างขนาด และต่างรูปร่างได้ เช่น สินค้าชิ้นเล็กอย่าง ชิป หรือ สินค้าชิ้นใหญ่อย่างแผงควบคุมวงจร

3. ความทนทาน 

วัสดุอย่างโพลีเอธีลีน และ PET ผสมโลหะ ทำให้ถุงกันไฟฟ้าคอนดัคทีฟมีความแข็งแรง และสามารถทนต่อสภาพแวดล้อมที่หลากหลายได้ โดยไม่ฉีกขาดหรือถูกเจาะเป็นรู ถุงคอนดัคทีฟจึงสามารถปกป้องสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ได้ตลอดการขนส่งและการจัดเก็บ แม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่หนักหน่วง 

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชันบรรจุภัณฑ์ชนิดอื่น ๆ ได้ที่บทความของเรา: ฟิล์มหด POF, Flexible Packaging, ฟิล์ม BOPP 

ข้อดีและข้อเสียของถุงกันไฟฟ้าคอนดัคทีฟแต่ละประเภท: 

ถุงคอนดัคทีฟแต่ละประเภท ย่อมมีคุณสมบัติและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ซึ่งการทำความเข้าใจความแตกต่างเหล่านี้จะช่วยให้ตัดสินใจเลือกถุงที่เหมาะกับสินค้าของคุณกลายเป็นเรื่องง่ายขึ้น

1. ถุงคอนดัคทีฟสีเงิน

ถุงคอนดัคทีฟสีเงิน ทำจากฟิล์ม PET ผสมโลหะ ซึ่งให้การปกป้องสนามไฟฟ้าสถิตได้อย่างยอดเยี่ยม

ข้อดี

ข้อเสีย

  • ให้การป้องกันที่ดี: ป้องกันไฟฟ้าสถิตได้ดีด้วยคุณสมบัติแบบกรงฟาราเดย์
  • ทนทาน: ทนทานต่อการฉีกขาดและการเจาะได้พอสมควร 
  • ความหลากหลายในการใช้งาน: บรรจุอุปกรณ์ได้หลากหลายชนิด และสามารถใช้งานนอกพื้นที่ EPA (Electrostatic Protected Area) ได้ 
  • ราคา: มักมีราคาสูงกว่าถุงคอนดัคทีฟประเภทอื่น
  • เกิดความเสียหายได้ง่าย: ชั้นโลหะอาจเกิดเป็นรอยพับ ฉีกขาด หรือถูกเจาะได้ง่ายกว่าวัสดุชนิดอื่น 

2. ถุงคอนดัคทีฟสีดำ

ถุงคอนดัคทีฟสีดำ ทำมาจากพลาสติกโพลีเอธีลีน มีคุณสมบัติการนำไฟฟ้าเล็กน้อย ช่วยปกป้องสินค้าภายในจากปฏิกิริยาไฟฟ้าสถิตได้ 

ข้อดี

ข้อเสีย

  • ประหยัด: มักมีราคาถูกกว่าถุงคอนดัคทีฟสีเงิน
  • กระจายประจุได้ดี: ป้องกันการเกิด ESD (Electrostatic discharge)
  • ทนทาน: ใช้งานในการจัดเก็บและขนส่งได้โดยไม่ฉีกขาด
  • ให้การปกป้องที่จำกัด: ควรใช้งานในพื้นที่ EPA เท่านั้น
  • ความเสี่ยงต่อ ESD: ความสามารถในการปกป้องไฟฟ้าสถิตต่ำกว่าถุงคอนดัคทีฟสีเงิน

3. ถุงกันไฟฟ้าสถิตแบบ Antistatic

ถุงกันไฟฟ้าสถิตแบบ Antistatic มักมีสีชมพู หรือสีใส ถุงประเภทนี่จะไม่มีความสามารถในการเหนี่ยวนำไฟฟ้า แต่สามารถป้องกันการสะสมรวมตัวของประจุบนพื้นผิวของถุงได้

ข้อดี

ข้อเสีย

  • เหมาะสำหรับสินค้าที่ไม่เซ็นซิทีฟต่อ ESD: เช่น ตะปู น็อต หรือชิ้นส่วนที่ไม่ต้องการการป้องกันสูง
  • ประหยัด: มักมีราคาถูกกว่าถุงคอนดึคทีฟสีดำ และสีเงิน
  • ไม่มีความสามารถในการนำไฟฟ้า: เหมาะสำหรับการใช้งานในพื้นที่ EPA กับสินค้าที่ไม่มีความเซ็นซิทีฟต่อ ESD
  • ความสามารถในการป้องกันไฟฟ้าสถิตต่ำ: ไม่เหมาะกับการบรรจุสินค้าที่เซ็นซิทีฟต่อ ESD 
  • ไม่ค่อยทนทาน: อาจสูญเสียสภาพการใช้งานได้รวดเร็ว ทำให้ต้องมีการตรวจสอบระหว่างใช้งานเสมอ

เลือกถุงกันไฟฟ้าอย่างไร ให้เหมาะสม

ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นั้นมีอยู่มากมาย เช่น ความบอบบางของสินค้า สภาพแวดล้อมในการเก็บรักษา และระดับการป้องกันที่เหมาะสม

ประเมินความเซ็นซิทีฟของสินค้า:

  • ถุงคอนดัคทีฟสีเงิน ให้การปกป้องสูงสุด เหมาะสำหรับชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความไวต่อไฟฟ้าสถิต 
  •  ถุงคอนดัคทีฟสีดำ ให้การปกป้องที่เพียงพอต่อชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่เซ็นซิทีฟต่อไฟฟ้าสถิต

สภาพแวดล้อม:

  • ถุงคอนดัคทีฟสีเงินที่มีส่วนผสมของโลหะให้การป้องกันไฟฟ้าสถิตสูง เหมาะกับการใช้งานในพื้นที่นอก EPA 
  • ถุงกันคอนดัคทีฟสีดำ มีความสามารถในการป้องกันไฟฟ้าสถิตที่ต่ำกว่า จึงควรถูกใช้งานในพื้นที่ EPA

ประเมินระดับการป้องกันที่สินค้าต้องการ:

  • สำหรับสินค้าที่ต้องการการปกป้องสูง ควรเลือกใช้ถุงคอนดัคทีฟสีเงินซึ่งทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันที่ยอดเยี่ยมและทนทาน
  • สำหรับสินค้าที่ต้องการการปกป้องแบบทั่วไป หรือสินค้าที่ไม่เซ็นซิทีฟต่อไฟฟ้าสถิต สามารถเลือกใช้ถุงกันไฟฟ้าแบบ Antistatic ได้

งบประมาณ:

  • ถุงคอนดัคทีฟสีเงิน เป็นตัวเลือกที่ให้การปกป้องสูงสุด แต่ก็มักมีราคาสูงกว่าถุงกันไฟฟ้าชนิดอื่น ในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ จึงควรคำนึงถึงความลงตัวระหว่างงบประมาณและการปกป้องที่สินค้าของคุณต้องการด้วย

อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเลือกใช้ป้องกันไฟฟ้าประเภทไหน สิ่งสำคัญ คือ ควรมีการตรวจเช็กสภาพความสมบูรณ์ของถุงระหว่างการใช้งานเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าของคุณจะได้รับการปกป้องที่มีประสิทธิภาพ

เลือกใช้ถุงคอนดัคทีฟ จาก  Flexipack 

ท่านใดที่กำลังมองหาบรรจุภัณฑ์ที่จะช่วยปกป้องและรักษาคุณภาพของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ Flexipack ขอเสนอถุงกันไฟฟ้าคุณภาพสูง ที่มีหลายรูปแบบให้เลือกใช้ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของคุณ

ไม่ว่าจะเป็นถุงคอนดัคทีฟสีเงิน สีดำ หรือถุงกันไฟฟ้าแบบ Antistatic เราพร้อมรับประกันว่า สินค้าของคุณจะได้รับการปกป้องที่ยอดเยี่ยม ทั้งจากไฟฟ้าสถิต และสิ่งเร้าอื่น ๆ ในสภาพแวดล้อม

ติดต่อเราวันนี้ เพื่อรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญของเรา และให้ Flexipack ช่วยหาโซลูชันที่ตอบโจทย์ที่สุดให้กับคุณ