Skip links

ทำความรู้จักกับ บลิสเตอร์ฟอยล์ (Blister Foil): คุณสมบัติและการใช้งาน

บลิสเตอร์ฟอยล์ (Blister foil) ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญทางด้านบรรจุภัณฑ์ของหลาย ๆ ธุรกิจ โดยเฉพาะกับอุตสาหกรรมยา บลิสเตอร์ฟอยล์โดดเด่นเรื่องความหลากหลายของการใช้งานและคุณสมบัติในการปกป้อง ทำให้มั่นใจได้ว่า สินค้าที่อยู่ภายในจะปลอดภัยในทุกขั้นตอนการจัดเก็บและขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นสินค้าประเภทยา หรือสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป 

ในบทความนี้ Flexipack จะพาคุณไปเรียนรู้ทุกเรื่องเกี่ยวบลิสเตอร์ฟอยล์ ทั้งประเภท จุดเด่น จุดด้อย และตัวอย่างการใช้งาน พร้อมแนะนำวิธีเลือกใช้บลิสเตอร์ฟอยล์ให้เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ

ไม่ว่าคุณจะมีความรู้เรื่องบลิสเตอร์ฟอยล์มากน้อยแค่ไหน บทความนี้จะสามารถช่วยให้คุณเข้าใจถึงบทบาทและความสำคัญของบลิสเตอร์ฟอยล์ในด้านบรรจุภัณฑ์มากขึ้นอย่างแน่นอน

บลิสเตอร์ฟอยล์ คืออะไร?

บลิสเตอร์ฟอยล์ (Blister foil) เป็นองค์ประกอบสำคัญของบลิสเตอร์แพค (Blister packing) ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยา 

แผงหรือกล่องบลิสเตอร์แพค  ประกอบได้ด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ ถาดหลุมพลาสติกที่ถูกนำไปขึ้นรูปแบบร้อน (Thermoforming) หรือแบบเย็น (Cold forming) และแผ่นปิดด้านหลัง ซึ่งมักทำจากอะลูมิเนียม โดยแผ่นปิดตรงนี้ เรียกว่า บลิสเตอร์ฟอยล์ (Blister foil) ซึ่งจะถูกซีลให้ติดกับถาดพลาสติกด้วยความร้อน เพื่อสร้างบรรจุภัณฑ์แบบปิดที่จะช่วยปกป้องสินค้าภายใน

ประเภทของบลิสเตอร์ฟอยล์

บลิสเตอร์ฟอลย์ มีให้เลือกใช้หลากหลายประเภท โดยแต่ละประเภทจะเหมาะกับการใช้งานที่ต่างกันออกไป การเลือกบลิสเตอร์ฟอยล์ให้เหมาะสมขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย อาทิ เช่น ประเภทของสินค้า ระดับการป้องกันที่สินค้าต้องการ และวิธีบรรจุสินค้า

โดยประเภทของบลิสเตอร์ฟอยล์สามารถเลือกใช้ได้ มีดังนี้:

1. ฟอยล์แบบ Ultra-light

ความหนา: 0.006-0.007 mm

เนื้อ: อ่อน 

การใช้งาน: ฟอยล์แบบ Ultra-light มักถูกใช้กับสินค้าที่ต้องการความยืดหยุ่นสูง เนื้อที่นิ่มทำให้สามารถถูกฉีกได้ง่าย ซึ่งเหมาะกับแพ็กเกจที่ทำให้เข้าถึงสินค้าได้ง่าย เช่น แพ็กเกจยาสำหรับผู้สูงอายุ

2. ฟอยล์แบบ Light

ความหนา: 0.008-0.012 mm 

เนื้อ: อ่อน

การใช้งาน: ฟอยล์แบบ Light ให้ทั้งความแข็งแรงและความยืดหยุ่น มักถูกใช้ในเป็นฟอยล์ปิดบนแผงยาเพื่อให้การป้องกันตัวยาจากความชื้น อากาศ และแสง โดยนอกจากการปกป้องที่ดีแล้ว ฟอยล์แบบ Light ยังสามารถถูกเจาะหรือฉีกได้ง่าย ทำให้เข้าถึงสินค้าได้อย่างสะดวก

3. ฟอยล์แถบอะลูมิเนียม 

ความหนา: 0.02-0.05 mm 

เนื้อ: อ่อน

การใช้งาน: ฟอยล์ประเภทนี้มักถูกใช้ทำบรรจุภัณฑ์แบบแถบ หรือ Strip โดยตัวสินค้าจะถูกบรรจุอยู่ตรงกลางระหว่างชั้นฟอยล์ ซึ่งบรรจุภัณฑ์ลักษณะนี้จะให้การปกป้องที่ยอดเยี่ยม และเหมาะกับสินค้าที่ต้องการการปกป้องสูงสุดจากสภาพแวดล้อม

4. อะลูมิเนียมบลิสเตอร์ฟอยล์

ความหนา: 0.012-0.025 mm 

เนื้อ: อ่อนปานกลาง 

การใช้งาน: อะลูมิเนียมบลิสเตอร์ฟอยล์ ถูกออกแบบมาเพื่อปิดผนึกด้านหลังของบลิสเตอร์แพค โดยจะให้การปกป้องสินค้าภายในได้อย่างดี และยังสามารถเข้าถึงสินค้าได้ด้วยการเจาะหรือฉีก อะลูมิเนียมบลิสเตอร์ฟอยล์มักถูกใช้เสริมกับพลาสติก (Plastic backing) เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและระดับการป้องกันของบรรจุภัณฑ์

5. ฟอยล์อะลูมิเนียมแบบ Cold Forming 

ความหนา: 0.045-0.06 mm 

เนื้อ: อ่อน

การใช้งาน: ฟอยล์แบบ Cold forming มักถูกใช้เป็นส่วนถาดของบลิสเตอร์แพคด้วยการขึ้นรูปแบบเย็น  ฟอยล์ประเภทนี้ให้การปกป้องสูงสุด เหมาะสำหรับสินค้าที่ไวต่อความชื้น ออกซิเจน และแสง ซึ่งฟอยล์แบบ Cold-forming ถือเป็นตัวเลือกยอดนิยมในอุตสาหกรรมยา เพื่อใช้บรรจุตัวยาที่มีความบอบบางและสลายตัวง่าย

ประเภทของบลิสเตอร์แพค

บลิสเตอร์แพคแบบ Push-Through :

  • ลักษณะ: ทำจากฟอยล์อะลูมิเนียมที่มีความแข็ง โดยผู้ใช้ต้องดันตัวสินค้า เช่น เม็ดยา เข้ากับบลิสเตอร์ฟอยล์ เพื่อให้สินค้าทะลุออกมา บลิสเตอร์แพคประเภทนี้ให้การปกป้องที่สูง และช่วยป้องกันไม่ให้เด็กเข้าถึงสินค้าได้
  • การใช้งานที่พบบ่อย: ฟอยล์แผงยาทั่วไป

บลิสเตอร์แพคแบบ Peel-Open:

  • ลักษณะ: ประกอบไปด้วยอะลูมิเนียมที่เสริมด้วยกับกระดาษ หรือ PET เพื่อให้สามารถถูกลอกออกได้ง่าย 
  • การใช้งานที่พบบ่อย: ใช้กับฟอยล์แผงยาที่สามารถลอกเปิดได้ง่าย 

บลิสเตอร์แพคแบบ Peel-Push:

  • ลักษณะ: ประกอบด้วยชั้นของกระดาษ, PET, อะลูมิเนียม หรือ HSC ทำให้สามารถลอกออกหรือดันให้สินค้าออกจากตัวแพคได้ 
  • การใช้งานที่พบบ่อย: ใช้บรรจุสินค้าที่ต้องการการปกป้องเพิ่มเติม

บลิสเตอร์แพคแบบฉีก หรือ Tear-Open:

  • ลักษณะ: มักทำจากกระดาษ, PE, อะลูมิเนียม หรือ HSC ซึ่งออกแบบมาให้ถูกฉีกออกและเข้าถึงสินค้าได้ง่าย
  • การใช้งานที่พบบ่อย: ใช้บรรจุสินค้าที่ต้องการการเข้าถึงง่าย 

บลิสเตอร์ฟอยล์และบลิสเตอร์แพคแต่ละชนิด ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานที่ต่างกัน โดยการเลือกใช้มักขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า และกลุ่มผู้บริโภค ซึ่งเพียงแค่ทำความเข้าใจในเรื่องของคุณสมบัติและความแตกต่างของบลิสเตอร์ฟอยล์แต่ละประเภท คุณก็จะสามารถเลือกสิ่งที่เหมาะสมที่สุดกับธุรกิจของคุณได้แล้ว

คุณสมบัติที่โดดเด่นของบลิสเตอร์ฟอยล์ 

บลิสเตอร์ฟอยล์ มีบทบาทสำคัญในการปกป้องทั้งรูปลักษณ์และคุณภาพของสินค้า โดยมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่ช่วยป้องกันสินค้าจากสิ่งเร้าในสภาพแวดล้อม และจากความเสียหายทางกายภาพ

คุณสมบัติเฉพาะตัวที่โดดเด่นของบลิสเตอร์ฟอยล์ มีดังนี้:

คุณสมบัติการห่อหุ้มและป้องกัน (Barrier Properties)

บลิสเตอร์ฟอยล์ให้การห่อหุ้มและปกป้องที่ดี (Barrier properties) ป้องกันทั้งความชื้น อากาศ และแสง ซึ่งเป็นสิ่งเร้าที่อาจสร้างความเสียหายให้กับสินค้าภายในได้ โดยเฉพาะกับสินค้าประเภทยา ทำให้มั่นใจได้ว่า สินค้าจะอยู่ในสภาพสมบูรณ์ตลอดระยะเวลาการเก็บ

ความแข็งแรง

อะลูมิเนียมบลิสเตอร์ฟอยล์ ถูกออกแบบมาเพื่อปกป้องสินค้าภายในบลิสเตอร์แพคจากแรงกระแทก หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการขนส่งหรือการจัดเก็บ โดยสามารถปรับระดับความหนาและความแข็งของตัวฟอยล์ได้ เพื่อให้ได้บรรจุภัณฑ์ที่แข็งแรงเหมาะสมกับการใช้งาน 

การซีลแบบร้อน

บลิสเตอร์ฟอยล์สามารถถูกนำไปผ่านกระบวนการซีลแบบร้อนได้ เพื่อสร้างบรรจุภัณฑ์ที่แน่นหนาที่จะช่วยเพิ่มการปกป้องให้สินค้าภายในมากขึ้น

การปรับแต่ง (Customizability)

ความหนา ความแข็ง และวัสดุเสริม ของบลิสเตอร์ฟอยล์สามารถถูกปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการได้ เช่น บลิสเตอร์ฟอยล์เนื้อแข็งและหนามีไว้เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเล็กสามารถแกะสินค้าออกจากบรรจุภัณฑ์ได้ หรือ บลิสเตอร์ฟอยล์เนื้ออ่อน เปิดง่าย ที่ช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงสินค้าได้อย่างสะดวก

ความยั่งยืน

อะลูมิเนียมบลิสเตอร์ฟอยล์ เป็นวัสดุที่นำไปรีไซเคิลได้ ซึ่งสอดคล้องกับวิถีการอนุรักษ์ที่ยั่งยืน การเลือกใช้อะลูมิเนียมเป็นองค์ประกอบของบลิสเตอร์แพคจึงสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค ที่เริ่มมองหาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

การใช้งานของบลิสเตอร์ฟอยล์ที่พบได้ทั่วไป

บลิสเตอร์ฟอยล์ ถือเป็นวัสดุอเนกประสงค์ที่มีบทบาทสำคัญในด้านของบรรจุภัณฑ์ ตัววัสดุให้การปกป้องที่ยอดเยี่ยม อีกทั้งยังมีคุณสมบัติที่ปรับแต่งได้ตามความต้องการ ประสิทธิภาพในการปกป้องสินค้าของบลิสเตอร์ฟอยล์ทำให้มันถูกใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมยา และยังเป็นวัสดุให้ประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมอื่น ๆ ด้วย

1. อุตสาหกรรมยา: บลิสเตอร์ฟอยล์ถูกใช้ในรูปแบบของฟอยล์แผงยาในอุตสาหกรรมยา เพื่อบรรจุทั้งยาเม็ดและยาชนิดแคปซูล โดยนอกจากจะปกป้องตัวยาจากสิ่งเร้าในสภาพแวดล้อมแล้ว ตัวบรรจุภัณฑ์ยังทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ยาได้ตามขนาดที่เหมาะสม โดยไม่ต้องกังวลถึงเม็ดอื่น ๆ ที่ยังอยู่ในแผง

2. สินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป: บลิสเตอร์ฟอยล์ถูกใช้เป็นส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าทั่วไปอย่าง แบตเตอรี่ อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ หรือชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ โดยจะช่วยปกป้องสินค้าให้อยู่ในสภาพดีตั้งแต่การขนส่งไปจนถึงมือผู้บริโภค

3. อาหารและเครื่องดื่ม: ในบางกรณี บลิสเตอร์สามารถถูกใช้เป็นส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มได้ อาทิ เช่น แผงหมากฝรั่งและลูกอม โดยการใช้ฟอยล์จะช่วยรักษารสชาติของสินค้า และยังช่วยยืดอายุการเก็บได้อีกด้วย

วิธีเลือกบลิสเตอร์ฟอยล์ให้เหมาะสม

ในปัจจุบัน ผู้ผลิตสามารถเลือกใช้บลิสเตอร์ฟอยล์ได้หลากหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทย่อมมีคุณสมบัติที่ต่างกันออกไป ก่อนจะเลือกจึงต้องมีการคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น ระดับการปกป้องที่เหมาะสมกับสินค้า งบประมาณ และความสะดวกของผู้บริโภค

โดยปัจจัยหลักที่ควรคำนึงถึง ในการเลือกบลิสเตอร์ฟอยล์ที่ตอบโจทย์กับธุรกิจของคุณ มีดังนี้

ความบอบบางของสินค้า

  • ระดับการปกป้องที่ต้องการ: คำนึงถึงความบอบบางของสินค้าต่อความชื้น แสง และอากาศ เพื่อเลือกใช้ประเภทของบลิสเตอร์ฟอยล์ที่เหมาะสม สำหรับสินค้าที่มีความบอบบางหรือไวต่อสิ่งเร้า เลือกฟอยล์ประเภทที่มี Barrier properties สูง เช่น บลิสเตอร์ฟอยล์แบบ Cold-forming
  • อายุการเก็บ: คำนึงถึงอายุการเก็บของสินค้า โดยบลิสเตอร์ฟอยล์สามารถช่วยยืดอายุการเก็บได้ด้วยการปกป้องสินค้าจากสิ่งเร้าในสภาพแวดล้อม

การเข้าถึงสินค้า

  • บลิสเตอร์แพคแบบ Push-Through: เหมาะสำหรับสินค้าที่สามารถถูกกดหรือดันให้ทะลุฟอยล์ออกมากได้ โดยทั่วไปมักใช้เป็นอะลูมิเนียมเนื้อแข็งที่มีความแข็งแรงและทนทาน 
  • บลิสเตอร์แพคแบบ Peel-Open: เหมาะสำหรับสินค้าที่ต้องการการเข้าถึงง่าย โดยไม่ต้องใช้แรงมาก โดยทั่วไป มักใช้เป็นอะลูมิเนิยมที่เสริมด้วยกระดาษหรือ PET 
  • บลิสเตอร์แพคแบบ Peel-Push: เหมาะสำหรับสินค้าที่ไม่ปลอดภัยต่อเด็กเล็ก โดยการเปิดแบบ Peel-push จะทำให้เข้าถึงสินค้าได้ยากขึ้น
  • บลิสเตอร์แพคแบบฉีก หรือ Tear-Open: เหมาะสำหรับสินค้าที่ต้องการการเข้าถึงที่ง่ายและรวดเร็ว โดยมักใช้วัสดุเป็นกระดาษ อะลูมิเนียม PET หรือ HSC ที่สามารถฉีกได้ง่าย เหมาะสำหรับการใช้ครั้งเดียวเนื่องจากตัวฟอยล์ไม่สามารถถูกซีลกลับได้

ความหนา และความแข็ง

  • ความหนา: ระดับความหนาของฟอยล์ควรสอดคล้องกับความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการ โดยฟอยล์ที่หนาจะให้การปกป้องมากกว่า แต่ก็จะทำให้เข้าถึงสินค้าได้ยากกว่าด้วย
  • ฟอยล์แบบ Ultra-light: 0.006-0.007 mm
  • ฟอยล์แบบ Light: 0.008-0.012 mm
  • ฟอยล์แถบอะลูมิเนียม: 0.02-0.05 mm
  • อะลูมิเนียมบลิสเตอร์ฟอยล์: 0.012-0.025 mm
  • ฟอยล์อะลูมิเนียมแบบ cold forming: 0.045-0.06 mm
  • ความแข็ง: เลือกระดับความแข็งหรือความนิ่มของฟอยล์ที่เหมาะสมกับการใช้งาน โดยฟอยล์เนื้อแข็งจะมีความทนทานมากกว่า และฟอยล์เนื้อนิ่มจะมีความยืดหยุ่นมากกว่า

บรรจุภัณฑ์ที่ป้องกันเด็กเล็ก

  • ความปลอดภัย: หากสินค้าเป็นสินค้าที่มีความอันตรายต่อเด็ก ควรเลือกรูปแบบของแพ็กเกจและ   ประเภทบลิสเตอร์ฟอยล์ที่สามารถป้องกันการเข้าถึงของเด็กได้ (Child-resistance) เช่น บลิสเตอร์แพคแบบ Push-through ที่ใช้ฟอยล์แข็ง หรือ แบบ Peel-push ที่ต้องใช้แรงในการเปิด 

การปรับแต่งรูปลักษณ์

  • แบรนด์และข้อมูลสินค้า: คำนึงถึงข้อมูลการใช้สินค้า วิธีใช้ หรือโลโก้ของแบรนด์ที่ต้องการระบุลงบนตัวบรรจุภัณฑ์
  • ขนาดและรูปร่าง: ปรับขนาดและรูปร่างของบลิสเตอร์ฟอยล์ให้พอดีกับบรรจุภัณฑ์ของสินค้า เพื่อการปกป้องและประสิทธิภาพการใช้งาน 

ค่าใช้จ่าย

  • งบประมาณ: เลือกบลิสเตอร์ฟอยล์ที่ให้การปกป้องที่เหมาะสมกับสินค้า และมีราคาที่สอดคล้องกับงบประมาณ โดยฟอยล์ที่ให้การปกป้องสูงและมีฟีเจอร์เสริม เช่น การเสริมวัสดุ หรือการพิมพ์โลโก้ อาจมีราคาสูง แต่จะเป็นตัวเลือกที่การันตีความปลอดภัยของสินค้าและสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนดืได้อีกด้วย

ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ประเภทอื่น เช่น Flexible packaing, ถุงกันชื้น (Moisture barrier bag) หรือ ฟิล์มยืด ได้ในบทความของเรา 

เลือกบลิสเตอร์ฟอยล์คุณภาพสูง ของ Flexipack

สำหรับท่านที่กำลังมองหาบลิสเตอร์ฟอลย์คุณภาพดี Flexipack พร้อมเสนอบลิสเตอร์ฟอยล์หลากหลายรูปแบบที่สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการของคุณ การันตีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และการปกป้องสูงสุด ตอบโจทย์ทั้งในด้านการใช้งานและงบประมาณ

ติดต่อเราวันนี้ และให้ Flexipack ช่วยหาบลิสเตอร์ฟอยล์ที่เหมาะสมที่สุดกับธุรกิจของคุณ