Skip links

รู้ไว้ก่อนสายเกินแก้! สารก่อมะเร็งคืออะไร มีอะไรบ้างที่ต้องระวัง

รู้หรือไม่ สารก่อมะเร็งเป็นสารพิษที่สามารถพบเจอได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น การสูบหรือได้รับควันบุหรี่, การดื่มสุรา, มลพิษทางอากาศ, รังสีอัลตราไวโอเลต และสารต่าง ๆ ทำให้มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ได้โดยไม่รู้ตัว โดยในบทความนี้ Flexi-Pack จะพาคุณมาทำความรู้จักว่า สารก่อมะเร็งที่พบในชีวิตประจำวันมีอะไรบ้าง แล้วจะหาวิธีหลีกเลี่ยงได้อย่างไร ใครที่มีความกังวลเกี่ยวกับการได้รับสารก่อมะเร็งโดยไม่รู้ตัวต้องติดตามต่อให้จบ!

สารก่อมะเร็งมีอะไรบ้างที่มักพบเจอในชีวิตประจำวัน

1. การสูบบุหรี่ การได้รับควันบุหรี่

บุหรี่ถือเป็นสารก่อมะเร็งที่สามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน เนื่องจากในบุหรี่จะประกอบไปด้วยยาสูบและกระดาษมวนยา ทำให้เมื่อเกิดการเผาไหม้จะมีสารเคมีเกิดขึ้นกว่า 7,000 ชนิด โดยเป็นสารก่อมะเร็งกว่า 70 ชนิด ซึ่งสารพิษที่ได้รับทั้งจากการสูบบุหรี่ และการได้รับควันบุหรี่ จะถูกดูดซึมไปยังกระแสเลือด และเข้าไปทำลายดีเอ็นเอในเซลล์ จนทำให้เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ที่ผิดปกติ และนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งต่าง ๆ ได้ในที่สุด

2. การดื่มสุรา

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตและส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยในกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมดื่มสุราร่วมกับการสูบบุหรี่ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง และโรคต่าง ๆ มากกว่า 200 โรคได้อีกด้วย

3. เนื้อสัตว์แปรรูป

เนื้อสัตว์แปรรูป คือการนำเนื้อสัตว์ไปแปรรูปด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การคลุกเกลือ หมัก บ่ม รมควัน เช่น เบคอน ไส้กรอก กุนเชียง ลูกชิ้น หมูยอ เป็นต้น โดยในเนื้อสัตว์แปรรูปมักจะมีไนโตรซามีน และโปตัสเซียมไนเตรต ที่เป็นสารก่อมะเร็งเป็นส่วนประกอบ

4. มลพิษทางอากาศ

มลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง หรือการก่อสร้างต่าง ๆ มักจะมีฝุ่นละออง ก๊าซโอโซน สารตะกั่ว ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และก๊าซซัลเปอร์ไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านระบบทางเดินหายใจ

5. รังสีอัลตราไวโอเลต

การได้รับรังสียูวีในปริมาณมากติดต่อกันเป็นเวลานาน จะส่งผลกระทบต่อดวงตา ผิวหนัง และระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้อีกด้วย โดยสามารถพบรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดด หรือแสงสังเคราะห์ที่ใช้ในเตียงอบผิวและตู้อบฆ่าเชื้อโรคได้

6. สารอะฟลาทอกซิน

สารอะฟลาทอกซิน เป็นสารก่อมะเร็งที่ถูกสร้างจากเชื้อราในตระกูล Aspergillus โดยมักจะพบในผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บไว้ในบริเวณที่มีความชื้นและอุณหภูมิสูง เช่น ข้าวโพด ถั่วลิสง พริกไทย พริกป่น กระเทียม หอมแดง และเมล็ดธัญพืชต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งสารอะฟลาทอกซินนี้สามารถทนความร้อนได้ดี และหากได้รับในปริมาณมากก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของตับ จนทำให้เกิดโรคมะเร็งตับได้

7. สารหนู

สารหนู เป็นสารก่อมะเร็งที่สามารถพบได้ตามธรรมชาติ ทั้งในอากาศ น้ำ และดิน จากการปนเปื้อนของสารกำจัดศัตรูพืชรุ่นเก่า ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย

8. แร่ใยหิน

แร่ใยหิน คือกลุ่มแร่ธาตุที่เป็นของเหลวซึ่งก่อตัวขึ้นตามธรรมชาติทางธรณีวิทยา โดยเราสามารถพบแร่ใยหินได้ผ่านอุปกรณ์ก่อสร้างต่าง ๆ เช่น ฉนวนกันร้อน ผนังอาคาร กระเบื้อง ฝ้าเพดาน หลังคา และการฟุ้งกระจายระหว่างก่อสร้างหรือทำลายอาคาร เป็นต้น

นอกจากสารก่อมะเร็งที่เราได้กล่าวไปข้างต้นแล้ว ยังมีสารก่อมะเร็งที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์สำหรับใส่อาหาร ซึ่งเป็นสิ่งที่เรานิยมใช้ในปัจจุบันอีกด้วย ซึ่งความร้อนจากอาหารที่ไปโดนบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ก็ยิ่งทำให้สารอันตรายเหล่านี้สามารถก่อตัวได้ดี ดังนั้นวิธีหลีกเลี่ยงก็คือ การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกปลอดสารก่อมะเร็ง (Non Toxic) เช่น ฟิล์มหด POF นอกจากนี้ยังควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันควบคู่ไปด้วย เช่น ทาครีมกันแดดป้องกันรังสียูวี, ลดการทานอาหารแปรรูป, เลิกสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการสูดดมควันบุหรี่หรือควันพิษ เป็นต้น