Skip links

ทำความรู้จักกับ “ฟิล์มยืด” (Stretch Film)

ฟิล์มยืด หรือ ฟิล์มยืดพันพาเลท คือ องค์ประกอบสำคัญในด้านบรรจุภัณฑ์ และถูกใช้ในการพันสินค้าบนพาเลท โดยจะเป็นฟิล์มพลาสติกที่มีความยืดหยุ่นสูง ออกแบบมาเพื่อป้องกันสินค้าระหว่างการขนส่งและการจัดเก็บไม่ให้เกิดความเสียหาย

ฟิล์มยืด ไม่เพียงแต่จะช่วยปกป้องสินค้าจากเศษฝุ่น ผง และความชื้น แต่ยังช่วยป้องกันไม่ให้สินค้าตกหล่นเสียหาย ในบทความนี้ Flexipack จะพาคุณไปทำความรู้จักกับคุณสมบัติที่โดดเด่นของฟิล์มยืดหรือฟิล์มพันพาเลท และแนะนำวิธีการใช้งานของฟิล์มยืดแต่ละประเภท เพื่อให้คุณสามารถเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการในธุรกิจของคุณมากขึ้น

ฟิล์มยืด คืออะไร?

ฟิล์มยืด (Stretch film) หรือ ฟิล์มพันพาเลท คือ ฟิล์มพลาสติกที่มีความยืดหยุ่น และมักถูกใช้เพื่อแร็ปสินค้าบนพาเลท (Pallet) เพื่อยึดไม่ให้สินค้าตกหล่นระหว่างการจัดเก็บและการเคลื่อนย้าย โดยฟิล์มยืดจะช่วยป้องกันสินค้าจากเศษฝุ่น ผง ความชื้น และจากความเสียหายทางกายภาพ 

ประเภทของฟิล์มยืด

โดยทั่วไปแล้ว ฟิล์มยืด สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ ฟิล์มยืดแบบพันมือ และฟิล์มยืดแบบพันเครื่อง

ฟิล์มยืดแบบพันมือ

ฟิล์มยืดแบบพันมือ (Hand stretch film) หรือ ฟิล์มยืดที่ต้องใช้กำลังคนในการพัน ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานในสเกลเล็กที่มีสินค้าน้อยชิ้น หรือการใช้งานที่ต้องมีการเคลื่อนย้ายและไม่สามารถติดตั้งเครื่องพันอัตโนมัติได้ โดยฟิล์มยืดแบบพันมือจะมาในรูปแบบม้วน ทำให้สามารถนำไปใช้งานได้อย่างสะดวก

คุณสมบัติและความโดดเด่น

  • ความยืดหยุ่น: ฟิล์มยืดแบบพันมือมีความยืดหยุ่นสูงและใช้งานได้ง่าย เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดย่อม หรือการใช้งานในคลังสินค้าที่มีข้อจำกัดทางด้านการบรรจุ
  • ราคา: ฟิล์มยืดแบบมือมีราคาไม่แพง เหมาะสมกับการบรรจุสินค้าที่ไม่เน้นความรวดเร็ว
  • ความอเนกประสงค์: ฟิล์มยืดแบบพันมือ สามารถถูกใช้งานได้หลายรูปแบบ เช่น การพันสินค้าเป็นกลุ่มแบบ Bundle หรือ การพันสินค้าบนพาเลท เพื่อปกป้องสินค้าจากฝุ่นและความชื้น
  • การเคลื่อนย้าย: ฟิล์มยืดแบบพันมือสามารถใช้งานได้โดยไม่อาศัยเครื่องจักร ทำให้สามารถนำไปใช้ได้ในหลายสถานที่ ซึ่งเพิ่มความสะดวกให้การใช้งานมากขึ้น 

ฟิล์มยืดแบบพันมือ ถือเป็นตัวเลือกที่เหมาะกับธุรกิจที่เรียบง่าย และที่มีประสิทธิภาพสำหรับการพันเพื่อยึดสินค้าบนพาเลทระหว่างการขนส่งและการจัดเก็บ 

ฟิล์มยืดแบบพันเครื่อง

ฟิล์มยืดแบบพันเครื่อง (Machine stretch film) ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานกับเครื่องพัน เหมาะสมสำหรับการใช้งานในกรณีที่มีสินค้าปริมาณสูง ฟิล์มยืดแบบพันเครื่องตอบโจทย์การบรรจุที่ต้องการความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง โดยจะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการบรรจุ และการันตีการพันที่แน่นหนา สม่ำเสมอ และมิดชิด  

ฟิล์มยืดแบบเป่า (Blown Stretch Film):

  • ฟิล์มยืดแบบเป่า คือ ฟิล์มยืดที่ผลิตด้วยกระบวนการการเป่าเพื่อให้ฟิล์มขึ้นรูป ซึ่งจะให้ความแข็งแรงที่มากขึ้น และทนทานการต่อการเจาะรู
  • ฟิล์มยืดแบบเป่าเหมาะสำหรับการแร็ปสินค้าที่มีความต้องการพิเศษ เนื่องด้วยความทนทานและคุณสมบัติการต้านแรงดึงที่สูง

ฟิล์มยืดแบบฉีด (Cast Stretch Film):

  • ฟิล์มยืดแบบฉีด ถูกผลิตด้วยกระบวนการการขึ้นรูปแบบหลอม (Casting) ซึ่งให้เนื้อฟิล์มที่มีความโปร่งใส และทนต่อการฉีกขาดได้
  • ฟิล์มยืดแบบฉีด สามารถรับน้ำหนักได้ดี เหมาะสำหรับสินค้าที่มีรูปทรงปกติ และยังส่งเสียงรบกวนที่น้อยกว่าฟิล์มชนิดอื่นระหว่างการพัน

ฟิล์มยืดแบบพิเศษ (Specialty Stretch Film):

  • ฟิล์มยืดแบบพิเศษ ถูกออกแบบมาเพื่อสินค้าที่มีความต้องการพิเศษ เช่น ฟิล์มยืดกันไฟฟ้าสถิต (Anti-static stretch film) หรือ ฟิล์มยืดแบบ Vented สำหรับสินค้าที่ต้องการการระบายอากาศ
  • ฟิล์มยืดแบบพิเศษให้การป้องกันที่เหนือชั้นกว่า เหมาะสำหรับการบรรจุสินค้าที่เฉพาะเจาะจง

ฟิล์มยืดแบบพันเครื่อง เป็นตัวเลือกสำหรับการบรรจุที่ต้องการความรวดเร็ว และความแม่นยำ การันตีการแร็ปสินค้าที่แน่นหนา และมีประสิทธิภาพซึ่งเหมาะสำหรับการใช้งานในธุรกิจขนาดใหญ่

เราสามารถสรุปได้ว่า ฟิล์มพันพาเลททั้งสองชนิดต่าง ถูกออกแบบมาห่อหุ้มและปกป้องสินค้าเพื่อความปลอดภัยทั้งระหว่างการจัดเก็บและการขนส่ง เพียงแต่จะเหมาะสมกับลักษณะการใช้งานคนแบบกัน

ความแตกต่างระหว่าง ฟิล์มยืดพันเครื่อง และฟิล์มยืดพันมือ

คุณสมบัติ

ฟิล์มยืดพันมือ 

(Hand Stretch Film)

ฟิล์มยืดแบบพันเครื่อง 

(Machine Stretch Film)

วิธีใช้ใช้เครื่องพันมือ (Hand dispenser) ในการพันสินค้า ใช้เครื่องจักรในการพันสินค้า
การใช้งานที่เหมาะสมเหมาะสำหรับการใช้งานที่มีสินค้าน้อยชิ้น เหมาะสำหรับการใช้งานที่มีสินค้าปริมาณมาก ให้การแร็ปที่แน่นหนาและสม่ำเสมอ
ราคามีราคาถูกกว่า เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดย่อมมีราคาเริ่มต้นที่สูง แต่คุ้มค่ากว่าสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่
ความแข็งแรงของการแร็ปให้การแร็ปไม่สม่ำเสมอ โดยความแข็งแรงขึ้นอยู่กับผู้บรรจุให้การแร็ปที่มิดชิดและแข็งแรงสม่ำเสมอ
ความสะดวกในการใช้งานใช้งานง่าย เคลื่อนย้ายสะดวก ไม่ต้องมีเครื่องจักรต้องอาศัยเครื่องจักรในการใช้ ซึ่งต้องการพื้นที่ติดตั้งและการดูแลที่เหมาะสม
ประเภทมีในรูปแบบม้วนเท่านั้นมีหลากหลายรูปแบบ เช่น ฟิล์มยืดแบบเป่า หรือ แบบฉีด
ประสิทธิภาพการใช้งานใช้เวลาและแรงมากกว่าใช้งานได้รวดเร็ว โดยไม่อาศัยกำลังคน
ปริมาณฟิล์มเหลือทิ้งจากการใช้งานมากกกว่า เนื่องจากเป็นการพันโดยใช้มือน้อยกว่า เนื่องจากใช้เครื่องจักรที่มีความสม่ำเสมอในการพัน

อย่างไรก็ดี ในการตัดสินใจเลือกฟิล์มยืดที่ถูกต้อง ควรต้องคำนึงถึงความต้องการที่เฉพาะเจาะจง อาทิ เช่น ประเภทของสินค้า สภาพแวดล้อมในการขนส่ง และงบประมาณ โดยปัจจัยเหล่านี้จะช่วยให้คุณตัดสินใจระหว่างฟิล์มยืดประเภทต่าง ๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้น อีกทั้งยังจะได้ตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดกับความต้องการของคุณด้วย

วิธีการเลือกฟิล์มยืดให้เหมาะสมกับการใช้งาน

ในการเลือกฟิล์มยืดให้เหมาะสม จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายประการ เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าของคุณจะได้รับการปกป้องที่มีประสิทธิภาพ และอยู่ในราคาที่สอดคล้องกับงบประมาณ โดยปัจจัยที่ควรคำนึงถึง มีดังต่อไปนี้

1. ประเภทและน้ำหนักของสินค้า:

ประเภทและน้ำหนักของสินค้าเป็นสิ่งที่จะกำหนดประเภทของฟิล์มพันพาเลท โดยสินค้าที่มีรูปร่างพิเศษและมีน้ำหนักมาก ย่อมต้องการฟิล์มยืดที่แข็งแรง อย่าง ฟิล์มยืดแบบเป่า (Blown-stretch film) ซึ่งจะให้การแร็ปที่แน่นหนา

2. ขนาดและรูปร่างของพาเลท:

คำนึงถึงขนาดและรูปร่างของพาเลท โดยพาเลทที่มีขนาดใหญ่ หรือ มีรูปร่างพิเศษย่อมเหมาะกับฟิล์มยืดประเภทพิเศษเพื่อการแร็ปที่เข้ารูปและแน่นหนา

3. สภาพแวดล้อมในการขนส่ง:

คำนึงถึงสภาพแวดล้อมในการขนส่งสินค้า เช่น หากสินค้าต้องอยู่ในที่แจ้ง หรือเจอกับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่รุนแรง ควรเลือกฟิล์มยืดแบบพิเศษ อย่าง ฟิล์มยืดกันยูวี หรือ ฟิล์มยืดเก็บอุณหภูมิ

4. สภาพแวดล้อมในการจัดเก็บ:

คำนึงสภาพแวดล้อมในการจัดเก็บสินค้า เช่น หากสินค้าต้องถูกเก็บในที่ที่มีความชื้นสูง ก็ควรเลือกฟิล์มพันพาเลทที่มีคุณสมบัติในการกันน้ำมากเป็นพิเศษ

5. การใช้งาน:

คำนึงถึงการพันสินค้าบนพาเลท โดยฟิล์มยืดแบบพันมือจะเหมาะกับการใช้งานที่มีสินค้าน้อยชิ้น และฟิล์มยืดแบบพันเครื่องเหมาะกับการใช้งานที่มีสินค้าจำนวนมากและต้องการการพันที่แน่นหนาและสม่ำเสมอ

6. ความหนาของฟิล์ม:

เลือกระดับความหนาของฟิล์มยืดให้เหมาะสมกับระดับการปกป้องที่ต้องการ โดยฟิล์มยืดที่หนากว่า ย่อมแข็งแรงและทนทานมากกว่า แต่ก็มักมีราคาที่สูงตามไปด้วย 

7. งบประมาณ:

งบประมาณเป็นปัจจัยสำคัญของการเลือกประเภทของฟิล์ม จริงอยู่ที่ฟิล์มยืดชนิดพิเศษจะมีราคาสูงกว่าฟิล์มยืดปกติ แต่ก็สามารถรองรับน้ำหนักได้มากกว่า และสามารถช่วยค่าใช้จ่ายในระยะยาว พร้อมลดปริมาณขยะในกระบวนการบรรจุได้ 

8. ความต้องการที่เฉพาะเจาะจง:

คำนึงถึงความต้องการของสินค้า เช่น การป้องกันไฟฟ้าสถิต การพิมพ์บาร์โค้ดบนฟิล์ม หรือ การระบายอากาศ

เลือกฟิล์มยืดพันพาเลทที่เหมาะสม กับ  Flexipack 

สำหรับท่านที่กำลังมองหาฟิล์มยืดพันพาเลทที่เหมาะสมที่สุดกับธุรกิจของตนเอง Flexipack พร้อมที่จะช่วยเหลือคุณ โดยไม่ว่าคุณจะมองหาฟิล์มยืดแบบพันมือสำหรับธุรกิจขนาดย่อม หรือ ฟิล์มยืดแบบพันเครื่องเพื่อธุรกิจขนาดใหญ่ เราพร้อมจัดหาโซลูชันที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพสูงสุดให้กับคุณ 

ติดต่อเราวันนี้ และให้ผู้เชี่ยวชาญของ Flexipack สรรหาสิ่งที่สอดคล้องและตอบโจทย์ที่สุดให้กับธุรกิจของคุณ