Skip links

ทำความรู้จัก “Flexible Packaging” บรรจุภัณฑ์อ่อนตัว ทำอะไรได้บ้าง

ในยุคปัจจุบันที่โลกหมุนไปด้วยความรวดเร็ว บรรจุภัณฑ์ (Packaging) นับเป็นองค์ประกอบสำคัญในการรักษาคุณภาพของสินค้า รับประกันความปลอดภัย และช่วยให้ความสะดวกกับผู้บริโภค และในบรรดาบรรจุภัณฑ์หลายชนิดที่มีอยู่ในท้องตลาด บรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัว (Flexible packaging) ก็ถือตัวเลือกที่โดดเด่นที่สุด ด้วยความอเนกประสงค์ ประสิทธิภาพ และความยั่งยืน

บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับคุณสมบัติอันหลากหลายของบรรจุภัณฑ์อ่อนตัว พร้อมค้นพบจุดเด่นที่ทำให้บรรจุภัณฑ์อ่อนตัวที่มีประโยชน์ทั้งกับฝ่ายผู้ผลิตและผู้บริโภค

บรรจุภัณฑ์อ่อนตัว (Flexible packaging) คืออะไร?

บรรจุภัณฑ์อ่อนตัว หรือ Flexible packaging คือ บรรจุภัณฑ์จากวัสดุที่มีความยืดหยุ่น ทนทานต่อแรงดึง ความชื้นและการฉีกขาด วัสดุอย่าง ฟิล์มพลาสติก ฟอยล์อะลูมิเนียม และกระดาษ มักถูกใช้เพื่อประกอบเป็นสร้างโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์อ่อนตัว ซึ่งให้คุณสมบัติในการห่อหุ้มและป้องกัน ( Barrier properties) ที่ยอดเยี่ยม ให้ความทนทาน และยังนำไปใช้งานได้หลากหลาย

บรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัว ขึ้นชื่อเรื่องความสามารถของการป้องกันผลิตภัณฑ์จากสารปนเปื้อนและความเสียหายทางกายภาพ รวมไปถึงให้ผิวที่มีความมันเงา ไม่มีกลิ่น และสามารถพิมพ์ลายได้ นอกจากนี้ บรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัวยังช่วยยืดอายุการเก็บของสินค้าได้อีกด้วย

ตัวอย่างบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัว

  1. ซองลามิเนต (Laminate bag) : ซองลามิเนต หรือ ถุงลามิเนต ทำวัสดุที่มีโครงสร้างหลายชั้น โดยทั่วไป มักทำจากพลาสติกและอลูมิเนียม เพื่อเพิ่มความสามารถในการห่อหุ้มและป้องกันผลิตภัณฑ์ ซองลามินเนตยังมีคุณสมบัติในการกันความชื้นและออกซิเจน นิยมใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร อย่าง ขนมขบเคี้ยว กาแฟ และอาหารสัตว์
  2. ซองตั้ง (Standing-pounch) : ซองตั้ง เป็นซองบรรจุภัณฑ์ที่มีฐานแบบพับ ทำให้ซองตั้งเป็นทรงตรงได้เองเมื่อวางถูกไว้บนชั้น ซึ่งช่วยในเรื่องของการโชว์สินค้า ซองตั้งมัเหมาะกับการบรรบุผลิตภัณฑ์ที่เป็นของเหลว เช่น น้ำผลไม้ หรือ ซอส และยังสามารถใช้บรรจุของแห้ง อย่าง ซีเรียล หรือ ถั่ว ได้ด้วย
  3. รีทอร์ทเพาซ์ (Retort pounch) : รีทอร์ทเพาซ์ ถูกออกแบบมาให้ความทนทานต่ออุณหภูมิที่สูงระหว่างกระบวนการการฆ่าเชื้อ (Sterilization) เหมาะสมกับการบรรจุอาหารพร้อมทาน ซุป และซอส
  4. ฉลากฟิล์มหด (Shrink sleeve) : ฉลากฟิล์มหด คือ ฟิล์มพลาสติกมีลายพิมพ์ที่จะถูกนำไปผ่านความร้อนเพื่อทำให้หดตัวรัดสินค้า นิยมใช้สำหรับการติดฉลากขวดและกระป๋อง เพื่อให้สามารถมองเห็นแบรนด์หรือข้อมูลผลิตภัณฑ์จากรอบด้าน
  5. บลิสเตอร์แพ็ก (Blister pack) : บลิสเตอร์แพ็ก คือ บรรจุภัณฑ์ที่ประกอบด้วยช่องพลาสติกขึ้นรูป และฟอยล์หรือแผ่นพลาสติกที่ใช้ปิดหลังช่อง บลิสเตอร์แพ็กถูกใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมยา ไม่ว่าจะเป็น ยาเม็ดหรือยาแคปซูล รวมถึงสินค้าอุปโภคบริโภคขนาดเล็ก อย่าง แบตเตอรีและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
  6. ฟิล์มอ่อน (Flexible Films) : ฟิล์มอ่อน คือ ฟิล์มพลาสติกชนิดบาง ใช้สำหรับห่อหุ้มผลิตภัณฑ์ หรือนำไปทำเป็นถุงและเพาช์ นิยมใช้กับอาหารแช่แข็ง รวมถึงสินค้าในภาคอุตสาหกรรม
  7. โฟลว์แรป (Flow Wraps) : โฟลว์แรป คือ ม้วนฟิล์มที่ใช้สำหรับพันรอบผลิตภัณฑ์ ก่อนจะถูกซีปิดด้วยความร้อนหรือกาว นิยมใช้สำหรับห่อลูกอม บิสกิต และของขบเคี้ยวอื่น ๆ
  8. ซองสูญญากาศ หรือ ถุงซีล (Vacuum bag) : ถุงซีล คือ ถุงที่ถูกออกแบบมาให้รองรับการดูดอากาศออกเพื่อปิดผนึกโดยเฉพาะ โดยเมื่อดูดอากาศออกแล้ว จะเกิดเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ห่อหุ้มสิ่งของภายในอย่างแน่นหนา นิยมใช้กับของแช่แข็ง อย่าง ปูอัด ไส้กรอก ไอศกรีม และอาหารอื่น ๆ ที่เน่าเสียได้ง่าย 

ประเภทของซองลามิเนต

ซองลามิเนตเป็นตัวเลือกยอดนิยมหลายอุตสาหกรรม ด้วยความทนทาน การใช้งานที่หลากหลาย และความสามารถในการรักษาความสดของสินค้าประเภทอาหาร ซองลามิเนตมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท และแต่ละประเภทก็ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกัน

เรียนรู้เกี่ยวกับซองลามิเนตประเภทต่าง ๆ รวมถึง คุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ของซองแต่ละประเภทได้จากข้อมูลด้านล่างนี้

ซองลามิเนตแบบแบน (Flat Laminated Pouches)

  • ซองลามิเนตแบบแบน มีให้เลือกทั้งแบบ ซีล 2 ด้าน, ซีล 3 ด้าน, และ ซีล 4 ด้าน
  • มีจำหน่ายในขนาดประหยัด ทั้งแบบซีลด้านล่างและซีลด้านข้าง
  • นิยมใช้ทั้งในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องอุปโภค สามารถห่อหุ้มได้ทั้งเครื่องสำอาง สินค้าทางการแพทย์ และสินค้าเพื่อบริโภค อย่าง ข้าวสาร ขนมหวาน และน้ำตาล

ซองลามิเนตแบบพับ (Gusset Laminated Pouches)

  • ประกอบด้วยวัสดุเสริม เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและปริมาตรความจุ
  • ซองแบบพับด้านล่างให้ฐานที่แข็งแรง ทำให้ซองสามารถตั้งได้
  • ซองแบบพับด้านข้างให้ความจุที่มากขึ้น
  • มักใช้สำหรับบรรจุภัณฑ์ยา ยารักษาโรค และอาหารเสริม

ซองลามิเนตแบบตั้งได้ (Stand-Up Laminated Pounches)

  • ซองสามารถตั้งได้ด้วยฐานที่มีการพับเป็นรูปตัว W หรือฐานแบนที่มีความมั่นคง
  • ใช้งานได้หลากหลาย และสามารถใช้ได้ทั้งกับอาหารและสินค้าอุปโภค เช่น ขนมคบเคี้ยว อาหารสัตว์ ของเล่น และยา

ถุงลามิเนตแบบสเปาท์ (Spouted Laminated Pouches)

  • ประกอบได้ด้วยหลอดและฝาในตัว ช่วยให้บรรจุหรือเทผลิตภัณฑ์ที่เป็นของเหลวออกได้ง่าย
  • เป็นทางเลือกแทนการใช้ขวดพลาสติกหรือขวดแก้ว ใช้สำหรับบรรจุซอส น้ำมันประกอบอาหาร น้ำผลไม้ หรือสบู่เหลว

ซองลามิเนตแบบม้วน (Roll Laminated Pouches)

  • มีให้เลือกใช้ในหลายขนาดและหลายรูปทรง เช่น ทรงสี่เหลี่ยม ทรงกลม หรือ ทรงขวด
  • ม้วนลามิเนตสามารถถูกนำไปขึ้นรูปได้ด้วยการใช้เครื่องอัตโนมัติ
  • นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

ซองลามิเนตแบบมีซิป (Laminated Pouches with Zippers)

  • มีซิปอยู่ที่ปากถุง ทำให้เปิด-ปิดได้สะดวก
  • ซิปช่วยป้องกันไม่ให้ผลิตภัณฑ์หล่นออกจากซอง ทำให้สะดวกในการใช้ และใช้ซ้ำได้

ซองลามิเนตแบบซีลตรงกลาง (Center Seal Laminated)

  • มีการปิดซีลบริเวณกลางถุงด้านหน้า หรือ ด้านหลัง
  • นิยมใช้บรรจุขนมขบเคี้ยว ลูกอม และช็อกโกแลต

ความแตกต่างระหว่างซองลามิเนตและซองพลาสติก

ซองลามิเนตและซองพลาสติกมีรูปร่างลักษณะคล้ายกัน และถูกใช้อย่างแพร่หลายพอ ๆ กัน แต่ซองทั้ง 2 ชนิดนั้นมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน ตารางด้านล่างนี้ได้เปรียบเทียบคุณสมบัติของซองลามิเนตและซองพลาสติก และตอบคำถามที่ว่า ทำไมซองลามิเนตถึงเป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมมากกว่าซองพลาสติก

คุณสมบัติในการห่อหุ้มและปกป้องผลิตภัณฑ์

ซองลามิเนตซองพลาสติก
ให้ Barrier properties ที่ดีกว่า เนื่องจากโครงสร้างวัสดุที่มีหลายชั้น ป้องกันผลิตภัณฑ์จากความชื้น ออกซิเจน และสานปนเปื้อนได้ดีโครงสร้างวัสดุมีชั้นน้อยกว่า ทำให้ Barrier properties ด้อยกว่าเมื่อเทียบกับซองลามิเนต

ความหลากหลายในการใช้งาน

ซองลามิเนตซองพลาสติก
สามารถบรรจุสินค้าได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นของแข็ง ของเหลว หรือของแช่แข็ง เนื่องด้วยโครงสร้างวัสดุที่แข็งแรงไม่เหมาะกับการบรรจุผลิตภัณฑ์ที่เป็นของเหลว และของแช่แข็ง เนื่องจากมีคุณสมบัติในการห่อหุ้มที่จำกัด และมีความทนทานต่ำ

ความสามารถในการเก็บกลิ่น

ซองลามิเนตซองพลาสติก
ปราศจากกลิ่น และป้องกันการเติบโตของแบคทีเรียได้ดี ช่วยให้มั่นใจถึงความสดสะอาดและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์แบคทีเรียเติบโตได้ง่าย ทำให้อาจจะเกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ หรือการปนเปื้อน

ความสะดวกในการขนย้าย และความคุ้มค่า

ทั้งซองพลาสติกและซองลามิเนตมีน้ำหนักเบาและสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายทางการขนส่งได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ซองลามิเนตจะโดดเด่นกว่าในเรื่องของคุณสมบัติการปกป้องผลิตภัณฑ์ และความหลากหลายในการใช้งาน ซองลามิเนตจึงเป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมมากว่าซองพลาสติก

ในปัจจุบัน บรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัว มีอยู่หลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้ และยังคงได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ตอบโจทย์ทั้งทางฝ่ายผู้ผลิตและผู้บริโภค ด้วยคุณสมบัติและดีไซน์ที่ยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้ บรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัว จึงยังคงเป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในหลาย ๆ อุตสาหกรรม

ข้อดีและข้อเสียของบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัว

ถึงบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัวจะมีความโดดเด่นมากมาย และถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย ก็ยังมีข้อจำกัดที่ควรคำนึงถึงด้วย

ข้อดีของบรรจุภัณฑ์อ่อนตัว

  • มีความอเนกประสงค์ – บรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัวสามารถใช้บรรจุสินค้าได้หลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นของแข็ง ของเหลว หรือแบบผง ความยืดหยุ่นในการใช้งานตรงนี้ทำให้บรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัวเหมาะสำหรับทั้งสินค้าที่เป็นอาหาร เครื่องดื่ม ยา เครื่องสำอาง และเครื่องอุปโภคบริโภค
  • ช่วยยืดอายุการเก็บให้ยาวนานขึ้น – บรรจุภัณฑ์อ่อนตัวมี Barrier properties ที่ยอดเยี่ยม ช่วยป้องกันสินค้าจากความชื้น อากาศ และสารปนเปื้อนได้เป็นอย่างดี จึงช่วยยืดอายุการเก็บของผลิตภัณฑ์ได้
  • Custom หรือ ปรับเปลี่ยนได้ – ทั้งรูปร่าง ขนาด และดีไซน์ของบรรจุภัณฑ์อ่อนตัวล้วนแล้วแต่สามารถปรับเปลี่ยนได้ ทำให้มันเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกับแบรนด์ที่ต้องการสร้างบรรจุภัณฑ์ที่มีโดดเด่นและดึงดูดสายตาเมื่อวางอยู่บนชั้น
  • ใช้งานสะดวก – คุณสมบัติอย่าง ซิปที่เปิดปิดได้ หรือ ถุงที่มากับหลอดในตัว ช่วยเพิ่มความสะดวกและสร้างความประทับใจให้กับผู้บริโภคได้

ข้อจำกัดของบรรจุภัณฑ์อ่อนตัว

  • ปัญหาเรื่องการรีไซเคิล– ถึงบรรจุภัณฑ์อ่อนบางชนิดสามารถนำมารีไซเคิลได้ แต่กระบวนการการรีไซเคิลนั้นค่อนข้างซับซ้อนและทำได้ยาก เนื่องจากโครงสร้างของวัสดุที่มีหลายชั้น
  • ความแข็งแรง – เมื่อเปรียบเทียบการบรรจุภัณฑ์แบบแข็งแล้ว บรรจุภัณฑ์อ่อนตัวจะมีความแข็งแรงน้อยกว่า ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับผลิตภัณฑ์บางประเภท
  • มุมมองของผู้บริโภค– ผู้บริโภคบางกลุ่มอาจมองว่า บรรจุภัณฑ์อ่อนตัว เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพด้อยกว่าบรรจุภัณฑ์แบบแข็ง ซึ่งอาจทำให้เกิดความคิดเห็นด้านลบต่อสินค้าและภาพลักษณ์ของแบรนด์
  • คุณสมบัติการห่อหุ้มและป้องกันที่จำกัด – ถึงแม้บรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัวจะให้ Barrier properties ที่ดี แต่ก็ยังไม่เทียบเท่าคุณสมบัติของบรรจุภัณฑ์แบบแข็ง ซึ่งอาจจะเหมาะสมกับสินค้าหรือการใช้งานบางประเภทมากกว่า
  • ค่าใช้จ่าย – การผลิตบรรจุภัณฑ์อ่อนตัวในปริมาณที่น้อย อาจมีค่าใช้จ่ายที่สูง เนื่องจากความซับซ้อนของตัววัสดุและกระบวนการการผลิต

บรรจุภัณฑ์อ่อนตัว เป็นตัวเลือกแห่งความอเนกประสงค์ ที่มีน้ำหนักเบา และสามารถถูก custom ให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ได้อย่างหลากหลาย พร้อม Barrier properties ที่ช่วยการยืดอายุการเก็บของผลิตภัณฑ์

อย่างไรก็ดี บรรจุภัณฑ์อ่อนตัวก็ยังคงมีข้อเสีย เช่น ปัญหาในเรื่องของการรีไซเคิล และมุมมองของผู้บริโภค สุดท้ายแล้ว บรรจุภัณฑ์ทุกชนิดก็ย่อมมีข้อดี-ข้อเสียที่ต่างกัน เพียงคุณทำความเข้าใจกับคุณสมบัติและข้อจำกัดของมัน คุณก็จะสามารถเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับธุรกิจและกลุ่มลูกค้าของคุณได้แล้ว

ให้ Flexipack ช่วยคุณ

การเลือกบรรจุภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ความต้องการทางธุรกิจอาจเป็นเรื่องท้าทาย โดยเฉพาะกับปัจจุบัน ที่มีบรรจุภัณฑ์อยู่มากมายให้เลือก หากคุณยังมีความสับสนว่า บรรจุภัณฑ์แบบไหน จะเหมาะกับสินค้าของคุณที่สุด ผู้เชี่ยวชาญของ Flexipack ช่วยคุณได้

ติดต่อ Flexipack เพื่อขอคำปรึกษาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และให้เราช่วยตอบคำถาม ไขความสงสัย และช่วยคุณเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับธุรกิจของคุณ