Skip links

ฟิล์มหดเป่าลมร้อน หรือ Shrink Film เป็นพลาสติกที่ช่วยห่อหุ้มสินค้าต่าง ๆ ให้ดูสะอาดและปลอดภัยต่อการใช้งาน รวมถึงสะดวกสบายต่อการขนส่ง ซึ่งในปัจจุบันได้รับความนิยมสูงมาก เนื่องจากสามารถใช้ได้กับสินค้าหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น สินค้าอุปโภค-บริโภค สินค้าอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั้งชิ้นเล็กและใหญ่ ดังนั้น เพื่อให้การใช้งานฟิล์มหดของคุณเป็นไปอย่างถูกต้อง เราไปดูกันดีกว่าว่ามีวิธีใช้ฟิล์มหดยังไงบ้าง

ฟิล์มหดคืออะไร

ฟิล์มหด คือ ฟิล์มที่ผลิตจาก พอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl chloride – PVC) และพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (Low density polyethylene – LDPE) โดยจะมีการใช้ความร้อนเพื่อทำให้พลาสติกหดตัวลงและยึดเกาะกับตัวสินค้า ทำให้สินค้านั้น ๆ ไม่หลุดออกจากกัน สามารถใช้งานกับสินค้าได้หลากหลายชนิด อีกทั้งยังสามารถใส่สีสันหรือลวดลายต่าง ๆ ลงไปบนฟิล์ม เพื่อเพิ่มความสวยงามได้อีกด้วย 

ฟิล์มหดมีกี่ประเภท

ฟิล์มหดมีกี่ประเภท

ฟิล์มหดที่นิยมใช้งาน สามารถแบ่งได้ทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่

  • ฟิล์มแบบ PVC หรือ Poly Vinyl Chloride เป็นฟิล์มที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากมีราคาถูกกว่าฟิล์มชนิดอื่น ๆ และใช้งานง่าย ลักษณะเนื้อฟิล์มจะเปราะและแข็งกว่าฟิล์มชนิดอื่น 
  • ฟิล์มแบบ POF หรือ Polyolefin หรือ ฟิล์มนิ่ม เป็นฟิล์มที่สามารถทนอุณหภูมิเย็นได้ดี แต่จะมีราคาที่สูงกว่าฟิล์มชนิดแรง ลักษณะเนื้อฟิล์มบาง ใส และเหนียว เหมาะกับการห่อสินค้าที่เป็นกล่อง
  • ฟิล์มแบบ PE มีลักษณะเนื้อฟิล์มออกขุ่น ๆ ยืดหยุ่นได้ดี เหนียว ไม่แตกง่าย สามารถใช้กับเครื่องห่อที่มีพัดลมเป่าลมเย็นเพื่อช่วยให้หดตัวได้ แต่จะไม่เหมาะกับการใช้ไดร์เป่าลมร้อน

ปัจจัยในการเลือกฟิล์มหด

การเลือกฟิล์มหดให้เหมาะสมกับการใช้งาน ควรคำนึกถึง 3 ปัจจัยต่อไปนี้

1. คุณภาพของฟิล์มหด 

เกรดของฟิล์มมีผลต่อความสวยงาม ความเรียบเนียน และความแข็งแรงในการห่อหุ้ม โดยฟิล์หดที่มีคุณภาพสูงจะหดตัวได้รวดเร็ว ใช้งานได้สะดวก แต่ก็จะมีราคาเริ่มต้นที่สูง

2. งบประมาณ

พิจารณางบประมาณที่ตั้งไว้ และเลือกฟิล์มหดที่คุ้มค่าและตอบโจทย์การใช้งานมากที่สุด

3. เครื่องมือและปริมาณสินค้า

ฟิล์มหดจะเป็นต้องใช้คู่กับเครื่องเป่าลมร้อนเพื่อให้ตัวฟิล์มสามารถห่อหุ้มสินค้าได้อย่างแน่นหนาและพอดี โดยควรมีความเหมาะสมกับปริมาณสินค้า เช่น เครื่องอบฟิล์มหดแบบอุโมงค์ เหมาะสำหรับแพ็กสินค้าจำนวนมาก ในขณะที่เครื่องเป่าลมร้อนแบบปืน เหมาะกับการแพ็กสินค้าปริมาณน้อย

ลักษณะการใช้งานของฟิล์มหด

ฟิล์มหดนับว่าเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีลักษณะการใช้งานค่อนข้างหลากหลาย โดยสามารถแบ่งได้เป็น 3 ข้อหลัก ๆ ดังนี้

แพ็คสินค้าทั่วไป

ฟิล์มหด เหมาะสำหรับการนำมาแพ็คสินค้าให้พร้อมต่อการตัดส่งไปยังสถานที่จำหน่าย ซึ่งการแพ็คสินค้าด้วยฟิล์มหด จะช่วยป้องกันความเสียหายจากการขนส่งได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของฟิล์มที่เลือกใช้ด้วยเช่นกัน

โชว์สินค้าภายในแพ็ค

การใช้ฟิล์มหดที่เป็นฟิล์มใสและมีความแวววาว จะช่วยให้ลูกค้าสามารถมองเห็นสินค้าของเราได้ชัดเจน นอกจากนี้หากเป็นสินค้าที่เป็นอาหารก็จะช่วยเพิ่มความไว้วางในคุณภาพและความสะอาดของอาหารได้อีกด้วย

 ทำฉลากติดบนผลิตภัณฑ์

นอกจากการนำมาใช้ในการแพ็คสินค้าเพื่อการส่งออกและจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคแล้ว ฟิล์มหดยังสามารถนำมาใช้ในการทำฉลากน้ำดื่มได้อีกด้วย โดยจะเป็นการเลือกใช้ฟิล์มหดแบบอ่อนที่มีลักษณะใส มันวาว ไม่แข็ง หรือเหนียว 

ประโยชน์ของฟิล์มหด

  • ฟิล์มหดช่วยปกป้องสินค้าจากความชื้น ฝุ่นละออง และทำให้สินค้าคงสภาพสมบูรณ์ได้นานขึ้น
  • ฟิล์มหดทนทานต่อการฉีกขาดและแรงดึง ช่วยป้องกันการเปิดบรรจุภัณฑ์โดยไม่ได้รับอนุญาต ทำให้มั่นใจได้ว่าสินค้าจะไม่ถูกแกะหรืองัดแงะก่อนถึงมือผู้บริโภค
  • ฟิล์มหดมีเนื้อบาง โปร่งใส และมีผิวสัมผัสมันวาวสวยงาม ซึ่งช่วยทำให้รูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ดูน่าสนใจ และโดดเด่นยิ่งขึ้น
  • ฟิล์มหดช่วยให้สามารถแพ็กสินค้ารวมกันได้หลายชิ้น ทำให้ขนส่งได้ง่าย และยังช่วยลดต้นทุน
  • ฟิล์มหดใช้ได้กับสินค้าหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ หรือสินค้าอุตสาหกรรม

ฟิล์มหดและฟิล์มยืดต่างกันอย่างไร

คุณสมบัติ

ฟิล์มหด

ฟิล์มยืด

ลักษณะการใช้งาน

ใช้ลมร้อนเป่าเพื่อให้ฟิล์มหดตัวและห่อหุ้มสินค้าได้พอดี

ยืดหยุ่นและเหนียว สามารถยึดเกาะกันเองได้โดยไม่ต้องใช้ความร้อน

ความสามารถในการลดแรงกระแทก

ไม่สามารถลดแรงกระแทกได้

สามารถช่วยลดแรงกระแทกได้เมื่อพันหลาย ๆ รอบ

การรักษาความชื้น

ไม่สามารถรักษาระดับความชื้นได้

สามารถรักษาระดับความชื้นได้ดี

ความทนทานต่อสภาพอากาศ

ไม่ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

ทนต่ออากาศร้อนและเย็นได้ดี

ประโยชน์

ใช้ห่อหุ้มสินค้าให้กระชับและป้องกันฝุ่นละออง

ใช้พันสินค้าหรือพาเลท เพื่อป้องกันการเคลื่อนที่และการเสียหาย

วิธีใช้ฟิล์มหดที่ถูกต้อง

วิธีใช้ฟิล์มหดที่ถูกต้อง

ให้เริ่มจากการนำฟิล์มหด มาทำเป็นถุงแล้วสวมครอบสินค้าอย่างหลวม ๆ จากนั้นนำไปผ่านลมร้อนจากเครื่องเป่าลมร้อนหรือไดร์อุตสาหกรรมที่มีกำลัง 1,000-2,000 วัตต์ เป่าบริเวณปากถุงฟิล์มหดแล้วค่อยเป่าไล่ไปตามขอบถุงและเป่าเก็บในส่วนที่เหลือ ในกรณีที่ใช้อุโมงค์หดความร้อน หรือเครื่องอบฟิล์มหด แนะนำให้ปรับค่าความร้อนและค่าความเร็วของสายพานให้เหมาะสมกับบรรจุภัณฑ์และชนิดของฟิล์มที่เลือกใช้ 

ฟิล์มหดและฟิล์มยืดต่างกันอย่างไร

ทั้งฟิล์มหดและฟิล์มยืด ผลิตมาจากพลาสติกและใช้ในการห่อหุ้มสินค้าเช่นเดียวกัน แต่จะแตกต่างกันตรงคุณสมบัติของฟิล์มแต่ละชนิด โดยฟิล์มยืดจะมีคุณสมบัติยืดหยุ่นและเหนียว สามารถยึดเกาะกันได้เองและไม่ทิ้งคราบเหนียวเอาไว้ และถ้าพันกันหลาย ๆ รอบก็จะช่วยลดแรงกระแทกได้ดียิ่งขึ้น สามารถใช้งานได้หลากหลายและได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากทนต่อสภาวะอากาศได้ทั้งร้อนและเย็น อีกทั้งยังรักษาระดับความชื้นได้ดี ส่วนฟิล์มหดจะเป็นฟิล์มที่ต้องใช้การเป่าลมร้อนเพื่อทำให้ฟิล์มหดตัวและห่อหุ้มตัวสินค้าได้พอดี แต่จะไม่สามารถลดแรงกระแทก หรือรักษาระดับความชื้นได้เหมือนฟิล์มยืด

สรุปบทความ

ได้ทราบกันไปแล้วว่า วิธีใช้ฟิล์มหดที่ถูกต้องเป็นอย่างไร รวมถึงได้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างฟิล์มยืดและฟิล์มหดกันไปแล้ว สำหรับธุรกิจหรือร้านค้าที่ต้องการเลือกฟิล์มไปใช้งาน ก็อย่าลืมคำนึงถึงสินค้าและคุณสมบัติที่ต้องการให้ดี เพื่อให้ฟิล์มที่คุณเลือกเหมาะกับการใช้งานและสร้างประโยชน์แก่ธุรกิจของคุณได้มากที่สุด